The Wailing (2015, Na Hong – Jin, STKR)

01 คุณเป็นตำรวจต๊อกต๋อยในเมืองชนบทเล็กๆที่มีตำรวจสักสิบคนได้ เวลามีฆ๋ากันตายคุณยังมีเวลากินข้าวกับเมียกับลูกกับแม่ยายก่อนออกจากบ้าน ชีวิตมันเรื่อยเปื่อย และคุณเป็นลุงอ้วนเฉื่อยๆไร้แรงบันดาลใจ มีคนตาย ฆ่ากันโหด เหมือนฆ่าที่อื่นแล้วลากศพมาไว้ในบ้าน มีรอดคนนึง แต่ผิวหนังพองไหม้ เลื่อนลอยไร้สติ ตอนแรกคิดว่าเป็นเห็ดพิษ แต่มีข่าวลือว่ามีคนญี่ปุ่นบนภูเขา ไอ้นี่จริงๆเป็นปีศาจกินศพสัตว์และไล่ฆ่ามนุษย์ แล้วลูกสาวคุณก็มีอาการพิลึก เหมือนครึ่งดีครึ่งบ้า บางทีก็ตะคอกคุณ -พ่อขี้แพ้ที่ไม่มีสัญชาตญาณพ่อเกาหลีที่ชอบใช้กำลังเลยแม้แต่น้อย เริ่มมีคนตายอย่างน่ากลัว เผาบ้านตัวเอง แขวนคอ บางคนที่รอยพุพองที่เนื้อตัว เมืองถูกห่มคลุมด้วยภูติผี ลูกคุณค่อยๆเป็นบ้า คุณถึงกับไปหาหมอผีมาไล่ผี แต่ผีอาจเป็นคนญี่ปุ่นลึกลับบนเขา หรือเป็นผู้หญิงชุดขาวที่เดินท่อมๆกลางดึก คุณเป็นเพียงคนอ่อนแอไม่ได้เรื่อง ทำทุกทางเพื่อจะปกป้องครอบครัว ถลำลงไปในความกลัว ความโกรธ ต่อกรกับปีศาจที่คุณไม่มีทางเอาชนะได้ตั้งแต่แรก และความอ่อนแอของคุณยิ่งทำลายล้างทุกอย่าง กวาดหมดไม่หลงเหลือ

02 นาฮองจินยังคงเล่นประเด็นเดิมในหนังทั้งสามเรื่อง คนธรรมดาที่อ่อนแอไร้ความสามารถ ต้องต่อกรกับสิ่งที่เขาเอาชนะไม่ได้ และความอ่อนแอยิ่งทำให้เขาพังพินาศง จากฆาตกรโรคจิตใน Chaser ไปสู่แกงค์มาเฟียชายแดนทั้งจีนและเกาหลี ในYellow Sea มาจนถึง ปีศาจจริงๆในหนังเรื่องนี้ มันเป็นโลกของความพ่ายแพ้อนมืดมนของผู้ชายที่ไร้ความเป็นชาย และความเป็นชายที่เขาต้องงัดมาใช้เพื่อต่อสู้ เพื่อปกป้อง เพื่อรักษา สถานภาพของตัวเองนั้นเองเป็นสิ่งที่ฉุดลากมากกว่าจะช่วยให้เขาดำลงไปในขุมนรก

ผู้ชายของนางฮองจินเป็นพวกอ่อนแอไม่ได้เรื่อง คนธรรมดาที่ไม่มีความสามารถอะไรเลย ค่อนข้างโง่ทึ่ม เลือกผิด และอวดอุตริเชื่อว่าความเป็นชายคือทางออก ทั้งที่ความเป็นชายในหนังของเขาคือทางไปตายเพราะมันอุดมไปด้วยความโง่ ความมุทะลุ ความโสมม การก่ออาชญากรรมและความพ่ายแพ้

03 และก็เช่นกัน ที่จุดสุดยอดของความเป็นชายทั้งระดับมหภาคและจุลภาคล้วนผลักดันผู้ชายไปสู่หายนะ ในโลกของหนัง รัฐ – ตำรวจ เป็นสิ่งไร้น้ำยาที่คอยแค่เก็บหลักฐานอย่างโง่เซอะ สืบไม่คืบหน้าถึงไหน ยิ่งเมื่อเขาอ้างกับครอบครัวว่าตัวเป็นตำรวจย่อมต้องสืบสวนได้ ยิ่งทำให้เห็นว่ารัฐนั้นใช้การไม่ได้(ในทางตรงกันข้ามแก๊งค์ผู้ชายที่ออกไล่ล่าปีศาจก็ง่อยเปลี้ยพอๆกันแถมยังทำให้ทุกอย่างวุ่นวายมากขึ้นไปอีก) ในขณะเดียวกันศาสนาคริสต์ในเรื่องก็เป็นเพียงความอ่อนแอ และเพิกเฉย รัฐที่ป้อแป้และศาสนาที่ไร้ค่าปล่อยให้คนต้องสู้กับผีด้วยไสยศาสตร์ ญี่ปุ่นที่เป้นศัตรูถาวร ประวัติศาสตร์ยุคสงครามที่มาในรูปซอมบี้ หรือเสื้อคลุม ไปจนถึงรากเหง้าของการเป็นพวกนับถือผี ผลักคนสามัญไปสู่การแสดงออกซึ่งความรุนแรงซึ่นำไปสู่ทางเลือกผิดๆ

ในระดับเล็กกว่านั้นแต่สำคัญกว่านั้นคือในภาพของครอบครัว ความโง่เง่า ไม่ได้เรื่องของตัวละครถูกแสดงออกเพื่อพยายามสุดชีวิตที่จะปกป้องครอบครัวตัวเอง ฉากหนึ่งที่สำคัญมากๆคือฉากที่ลูกสาวซึ่งกลายเป็นปีศาจตะคอกพ่อว่าไอ้ขี้แพ้หลังจากพ่อพยายามจะสืบสวน เป็นจุดตกต่ำสุดของความเป็นชาย (ซึ่งหนังพูดเป็นนัยๆว่าป้อแป้ จนต้องเอากับเมียในรถถึงจะเสร็จ แล้วลุกยังแอบดูอีกด้วย) และเป็นจุดฮึดสู้ของผู้ชายที่ในที่สุดทำให้ทุกอย่างเดินไปสู่จุดที่ไม่อาจหวนคืน

04 เลยพ้นไปจากประเด็น สิ่งที่พรึงเพริดที่สุดในหนังคือการที่ตัวมันเป็นหนังผี หนังผีแบบมีผีปีศาจมีสงครามหมอผี มีการฆ่าเลือดสาดสยองขวัญ มีการบูชายัญ มีความยะเยือก นาฮองจินไปสุดทางในทุกมิติที่ทจะทำได้ ในซีนหนึ่ง เขาสร้างฉากพิธีไล่ผีแบบเกาหลีที่น่าสะพรึงกลัวอย่างยิ่งทุกอย่างเร่งเร้าไปในจุดสุดยอดของเสียงกลอง ซึ่งทำให้นึกขึ้นได้ว่าหนังไต่ระดับความวิปริต ความเร้าอารมณ์ขึ้นไปแตะระดับ Ieodo Island ของ Kim Ki Young ในขณะที่ฉากผีแบบ conventional ที่อาศัยการมองเห็นมองไม่เห็นและการตุ้งแช่แบบตามขนบ เขาก็ทำได้อย่างน่าทึ่ง พอๆกับบรรดาฉากการฆ่าเลือดสาดที่หนังถ่ายคัตสั้นๆแต่สยองขวัญมากๆบวกกับแลนด์สเคปชนบทเกาหลีโสโครกๆ ในอีกทางหนึ่งเขาก็ยังใส่ฉากแบบสู้กับซอมบี้ลงไปในหนังได้ด้วย

แต่ฉากที่ทรงพลังที่สุดกับเป็นความเย็นเยียบของไคลแมกซ์ในความมืดที่ตัวละครผเชิญหน้ากับอะไรบางอย่าง มันเป็นฉากที่ไม่มีการใช้เทคนิคอะไรมากไปกว่าความมืด ความยะเยือกและการไม่รู้เหนือรู้ใต้ ไม่แน่ใจในอะไรหรือใครได้อีกแล้ว มันเป็นฉากไคลแมกซ์ที่เยือกเย็นและบีบคั้นมากๆ ต่างไปจากฉากอื่นๆในหนังและเป็นการสรุปปิดการโชว์สกิลหนังสยองของนาฮองจินว่าทำได้ทุกอย่างจริงๆ

05 โดยส่วนตัว แม้เกาหลีใต้จะมีภูผาอย่าง Im Kweon Taek (ที่ยังไม่ตาย) Lee Chang Dong หรือ Hing Sang Soo ให้ต้องแรงค์กอ้งตัวทอป (อยากนับ Zhang Lu กับ Lee Sung Woo ด้วยแต่ก็อินดี้เกิน) แต่ในระดับ เกาหลีเมนสตรีม เกาหลีระทึกระทม เกาหลีบัดซบ เราพบว่า Na Hong Jin กวด Bong Joon Ho และPark Shan Wookมาแล้ว (กล่าวตามสัตย์ เราไม่ค่อยปลื้ม Snowpiecer เท่าไหร่) และ อาจจะไปได้ไกลกว่า Kim Ji Wun ถ้าจะว่าไปแล้ว และThe Wailing ก็พิสูจน์ว่า ไอ้นี่แม่งกำลังมาของจริง

END NOTE สิ่งที่สนใจจริงๆคือการพูดประเด็นเกาหลี ญี่ปุ่นในหนัง ซึ่งน่าสนใจว่าหนังมองญี่ปุ่นเป้นสิ่งชั่วช้า แต่ดูเหมือนญี่ปุ่นในเรื่องก็ resembleรากเหง้าเดียวกับเกาหลีและเกาหลีเองก็มีส่วนร่วมในการสร้างปีศาจญี่ปุ่นด้วย ฉาก สงครามหมอผี เลยเป็นฉากที่มีนัยยะทางการเมืองสูงมาก

คนกินแสง(The Serenity of Madness) (2016, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล,ไทย) (Video Installation)

จริงๆเป็นงานวีดีโอที่ดูไปแล้วประมาณ 80% โดยดูแยกในฐานะหนังสั้น วีดีโอ มีเพียง ศักดิ์ดา กับ Ashes เท่านั้นแหละที่ไม่เคยดู /เคยดูบางส่วน (งานอื่นๆในเซตเท่าที่นึกออก น่าจะมี Windows, ผีนาบัว, Vampire, 0116643225059 , Fireworks)
สิ่งที่อยากพูดถึงเลยไม่ใช่แค่ตัวงานอย่างเดียว แต่เป็นรูปแบบการจัดวาง พูดในฐานะคนดูหนังที่ไม่คุ้นเคยกับการจัดวางงานแบบ installation มันพิเศษมาก น่าตื่นเต้นมาก ทรงพลังมากๆๆๆๆๆ

หนังทั้งหมดถูกจัดฉายในห้องมือ ซึ่งมีทางเดินคดเคี้ยว งานชิ้นหนึ่งอาจวางระหว่างโถงทางเดิน ในหลืบลึกลับ และมีห้องแยกเข้าไปสำหรับงานบางชิ้น เดินต่อไปสู่อีกห้องที่มีงานอีกสองหรือสามชิ้นจัดแสง แล้วคนเดคี้ยวไปสู่อีกห้องหนึ่ง เหมือนเขาวงกต หรือหลุมดำ แห่งความมืดมิดและแสงสว่างวูบวาบ ของพลุเพลิง สายฟ้า แสงจากไฟฉาย แสงจากหน้าต่างสะท้อนกล้องวีดีโอ

งานแต่ละชิ้นเปิดเสียงดังเบาไม่เท่ากัน เวลาเดินดูงานชิ้นหนึ่ง มันจะถูกเหลือมซ้อนด้วยสีและแสงจากงานอีกชิ้น ตรงที่ฉาย ผีนาบัว(ไม่แน่ใจเรื่องนี้ไหม อันที่เป็นเด็กวัยรุ่นหลายคนนอนหลับในสเปซเคลือบสีแดง -เคยดูที่จิม) จะถูกกั้นขวาง /คั่นแบ่ง ด้วยจอโปร่งแสง (คล้ายแผ่น อะคริลิก ที่มีผ้าบางคอยกรองให้เป็นจอขึ้นมา ซึ่งฉายแสงกะพริบจากหนังเรื่องWindow ขณะที่เรายืนดูผีนาบัว แสงจาก window จะกะพริบสะท้อนลงบนจอด้วย เช่นเดียวดับเสียงสายฟ้าฟาดจากหนังอีกเรื่องและเสียงพลุเพลิงจากหนังอีกเรื่อง ซึ่แงสงพลุจะสะท้อนไปมาในห้อง เหมือนเราถูกจูงในเดินตามแสงไปเรื่อยๆ

มีห้องหนึ่งที่สว่าง เป็นวีดีโอสามจอฉายภาพคนรัก และวีดีโอจอเล็กแายภาพเปี่ยมสุขริมหาดของทิลด้า สวินตัน งานที่เป็นเหมือนจุดร่วมแสงก่อนจะกลืนเข้าสู่ความมืดในห้องถัดไป

ศักดิ์ดาซึ่งเป็นการถ่ายภาพศักดฺดา แก้วบัวดีนั่งบนเก้าอี้ร้องเพลง แล้วเล่าความรักเกี่ยวกับการสูญเสียชื่อของตัวเอง จากศักดิ์า ไปสู่รุสโซ แล้วในที่สุดไม่มีชื่อ หรือเรือนร่างอีกต่อไป ฉายโดยมีจอเล็กสามจอฉายภาพเงาสีแดงของสุนัขซึ่งดูโปร่งแสง
Vampire ฉายจอใหญ่ในห้องมืด หนังผีเจือแสงจากไฟฉายในพงไพร ทรงพลังเหมือนที่เคยดูครั้งแรก

แต่ไคลแกมซ์อยู่ที่ Fireworks ซึ่งในครั้งแรกได้ดูที่ไทจง ฉายลงบนจอเฉยๆ แต่คราวนี้หนังฉายลงบนจอโปร่งแสงขนาดยักษ์ที่เล่าเมื่อกี้) มีโปรเจคเตอร์สองตัวยิงสวนกัน ภาพบนจอโปร่งแสง จะซ้อนกับภาพบนผนังที่ห่างออกไป แต่ภาพทั้งหมดจะกระจายแสงลงบนพื้นและอาบไล้ผู้ชมด้วย ดังนั้น ขณะที่เราจ้องมองป้าเจนเดินไปในแดนสนธยากลางความมืดที่มีเพียงวาบแสงพลุเพลิงสาดจับ รูปปั้นสัตว์ในตำนานพิลึกพิสดาร ตามหาเก่งที่เดินในความมืด แสงจากพลุที่ถูกจุดก็วาบใส่ผู้ชมด้วย จากตำแหน่งของเก้าอี้ ผู้ชมจึงเป้นส่วนหนึ่งของสวนรูปปั้น ซึ่งแน่นอนมีรูปปั้นมนุษย์ เป็ส่วนหนึ่งของความสินหาในแสงวาบ ซึ่งวาบจนมองเห็นโครงระดูกภายใน

การโดนอาบไล้ด้วยแสงจากจอ เสียงจากงานซึ่งไร้ที่มา การถูกแสงชักจูงไปในเขาวงกตพิสดารของชนบทไร้ชื่อ เด็กวัยรุ่น สุสาน การประท้วง ความรัก การเมือง และความเศร้า เป็น ‘ประสปการณ์’ ที่พิเศษ และเป็นเหมือนเครื่องยืนยันว่า ภาพยนตรื คือประสปการณ์ที่เหนือไปกว่า เรื่อง หรือภาพ หรือเสียง

Added – ลืมเขียนถึง Dilbar ซึ่งถูกฉายแยกในห้องข้างบนด้วยวิธีการเดียวกับ Fireworks เหมือนเคยดูออนไลน์จากที่ไหนสักแห่ง แต่พอมาดูแบบนี้แล้วพบว่าโห มันงงามมาก การตามถ่ายแรงงานในประเทศแถบอินเดีย (ไม่ชัวรืประเทศ) ที่มีการซ็นอภาพตัวละครเดินไปทางขวา ซ้อนเข้ากับที่ต่างๆจนเป็นเหมือนวิญญาณที่ล่องลอยไป วิญญาณของแรงงานที่เป็นเพียงวิญญาณแห่งการทำงานซ้ำๆ เสียงตอกเครื่องจักรซ้ำๆ ภาพวิญาณตื่นจากเตียงซ้ำแล้วซ้ำเล่า จริงๆ ตอนดูออนไลน์จะรู้สึกเฉยๆ แต่พอแสงวิญญาณของคนงงานมันซ็อนลงบนตัวเราทุกอย่างก็ยกระดับขึ้นสามสิบเท่า

 

Ambiguous (2003, Toshiya Ueno, JP)

พิงค์ฟิล์มนี่เป้นอาณาเขตที่ตัวเองไปแตะน้อยมากเพราะถ้าดูเอาความเงี่ยนเราไปฮาร์ดคอร์เลย แต่ดูเอาอย่างอื่นก็ไปดุอย่างอื่นแทน

นี่คือหนังของหนึ่งหกเทพแห่งหนังพิงค์ หนังเจ้าของรางวัลPink Grand Prix ปี 2003 ซึ่งคงเิร์นเราเข้าหาหนังพิงค์ได้ (หนังพิงค์ที่รักมากๆที่เคยดูคือ Kandagawa Wars ของ คิโยชิ คุโรซาว่า กับ Abnormal Family (1983) ที่รีเมคครอบครัวโอสุเป็นหนังพิงค์ และอาจมีหนังของ Ryuichi Hiroki บางเรื่อง)

หนังว่าด้วยคนสิ้นหวังห้าคนที่เจอกันในอินเตอร์เนท ชายเจ้าของร้านตราปั๊มทำมือที่ไม่รู้ว่าจะอยู่ไปทำไม ผู้หญิงที่โดนผัวกระทืบทุกวันเพราะไปแอบดูลูกที่ผัวไม่ให้มีส่วนร่วม นักเรียนสาวไร้เพื่อนที่ต้องไปขโมยของมาซื้อเพื่อนแล้วหลอกว่าไปขายตัว หนุ่มบริกรที่ไม่ว่าจะทำอย่างไรก้ไม่สามารถมีอารมณ์ได้ และผู้หญิงที่ผัวไม่ยอมแต่งงานด้วยแต่ชอบมีเซกส์ S&M ตลอดเวลา ทั้งห้าคนเกลีดยโลก ไม่อยากเกิดมา อยากหายตัวไป ไม่อยากมีชีวิตอยุ่ เลยนัดกันในเนทมาตายพร้อมกันที่บ้านชายคนแกร โชคช่วยที่ในที่สุดก็จับคู่ได้กันแทน พเอากันมากๆเข้า การเอากันก็ทำให้รู้สึกไม่อยากตายเพียงแต่ใครคนหนึ่งที่มาช้า ดันไปฆ่าคนอื่น คนที่ฆ่าคนอื่นได้ย่อมตองไม่อยากตาย คนอยากตายไม่มีแรงใจในการฆ่าคนอื่น ระหว่างที่นอนรมแก๊สรอความตาย พวกเขาก็ลุกขึ้นมาเอากันและตัดสินใจที่จะไม่ตาย ไม่ต้องมีเพื่อนก็ได้ ไม่ต้องมีอารมณ์ก็ได้ หรือในที่สุดแทนที่จะฆ่าตัวตายก็ฆ่าคนอื่นเป็น ไม่ก็ไม่เปลี่ยนแปลงอะไรเลย

ชอบมากๆที่หนังเต็มไปด้วยความสิ้นหวัง ขนาดฉากเซกส์ก็ดูหม่นหมอง จนพอยิ่งคนอยากมีชีวิตมันก็เริ่มเอากันมันส์ขึ้น การได้เอาทำให้อยากมีชีวิตอยู่ เหมือนยังมีบางอย่าง ความเสียวคือการมีชีวิต เมื่อมีชีวิตก็ไม่อยากตาย

ชอบบรรยากาศของหนัง ความทุนน้อยของหนัง มันเป็นบรรยากาศและตัวละครแบบที่มีแต่ในหนังญี่ปุ่นเท่านั้น มาสเตอร์ของตัวละครและบรรยากาศแบบนี้คือคิโยชิ คุโรซาว่า และมันสุดจริงๆ

 

เทริด (2016, เอกชัย ศรีวิชัย ,ไทย)

1. Surprise!!! มันเป็นหนังท้องถิ่นนิยมแบบที่เราควรจะต่อต้าน แต่มันเป็นหนังที่เชื่อในตัวมันเองอย่างมากแม้พลอตจะเหมือนหนังพม่ายุค 50’s แต่มันเองก็จริงจังแบบเดียวกับหนังพม่ายุคนั้นด้วย(อธิบายเพิ่มเติม หนังพม่ายุค 50’s ที่เคยดูอย่างน้อยสองเรื่อง เป็นหนังเมโลดราม่าคล้ายหนังไทย ว่าด้วยเรื่องรักหนุ่มสาว ความเข้าใจผิด โครงกระดูในตู้ ความลับของครอบครัว ซึ่งหนังจริงจังกับการเป็นหนังดราม่ามากๆและการที่มันได้รับอิทธิพลจากอินเดียทำให้หนังพม่าจะมีฉากร้องรำทำเพลงที่งดงามมากๆ หนังที่นึกถึงตอนดู เทริด คือ Yatanabon ซึ่งเราเคยฉายไปเมื่อต้นปีที่แล้ว) และมันน่าตื่นต้นตรงที่ เราควรจะต่อต้านหนังท้องถิ่นฝ่ายขวาทำให้ดำรงคงพันธุ์ฝ่ายขวา แต่ในประเทศนี้กระทั่งหนังแบบนี้ก็ยังมีนัยยะท้าทายฝ่ายขวาจากส่วนกลางอีกทีนึง ด้วยการเป็นเรื่องของท้องถิ่นทั้งหมดที่กรุงเทพไม่ได้ยุ่งเกี่ยวเลย

ที่พรึงเพริดที่สุดคือหนังมันเล่าเรื่องเดียวกับ X-Men Apocalypse!

2.เรื่องมันคือความขัดแย้งของศรัทธาครูโนราห์ที่สิงห์ลูกชายไม่ยอมสืบสานความเป็นโนราห์ต่อ แต่หันมาชื่นชอบดนตรี ซึ่งไม่ใช่การเป็นเสกโลโซหรือปูพงษ์สิทธิ์ แต่เป็นการเป็นอะไรแบบวงกางเกง วงกลม วงพัทลุง คือดนตรีไฮบริดเพลงแบบพี่เสกเข้ากับเพลงแบบมาลีฮวนน่าหรือหลวงไก่ ที่เนื้อหาเป็นวัยรุ่นมากๆ (ซึ่งแน่นอนว่าแถวนี้มันฮิตจริงๆ) งานจ้างงานหนึ่งเจ้าภาพเห็นสิงห์ถือกีตาร์ก็บอกว่าโนราห์อะไรมีกีตาร์ไปเลยไป สิงห์ทะเลาะกับพ่อ ทำเทริดประจำวงหักแล้วหนีออกจากบ้านที่พัทลุงมาอยู่กับลุง พุฒ ล้อเหล็ก นักมวยในสงขลา

ที่สงขลา สิงห์ ไปร่วมกับบอลลูกพี่ลูกน้องทำวงเล่นในตลาดเมืองเก่า(วงนี่น่าจะคาเมโอ้ วงร๊อคภาคใต้ไฮบริดมากันทั้งวงการ ,หลวงไก่ กับ เดช อิสระก็มาคาเมโอ้ด้วย ยกกันมาทั้งภูมิภาค) แล้วบังเอิญไปช่วยเหลือสาวสวย น้องสายทิพย์จากการถูกจิ๊กโก๋ทำร้าย สายทิพย์นี่เป็นโนราห์วัยรุ่น ที่แม่ได้เงินมาจากนายหัวอำนาจมาตั้งคณะ ตั้งใจจะให้ลูกสาวแต่งงานกับลูกชายนายหัวอำนาจ แต่อันมารักกับสิงห์เสียก่อน

ในอีกทางหนึ่งพ่อครูมาเข้าทรงแล้วบอกว่าไอ้สิงห์ต้องตายถ้าไม่เอาขันหมากมาขอขมา มาเปนโนราห์ ตัดจุกสวมเทริดโดยต้องไม่ปาราชิกมีเมียไปก่อน ถ้าไม่ทำตามนี้จะเอามันไปอยู่ด้วย

ครูศรัทธาความดันขึ้นเบาหวานขึ้นตาลูกไม่กลับบ้าน หมอบอกว่าตาบอดได้ แต่โนราห์ก็ยากจนต้องออกไปเล่น จนยิ่งแย่ไปอีก

สิงห์พาสายทิพย์หนี ได้กันแล้วโดนตามล่า หนีมาเจอพ่อ เลยรู้ว่าพ่อป่วย สิงห์เลยกลับมาสืบสานความเป็นโนราห์ต่อจากพ่อ

เรื่องเป็นนิทานฝ่ายขวาโนราห์สมบัติชาติ เด็กหลงทางไปกับวงดนตรีจะกลับมาสืบสานรากเหง้าของไทยมากๆ ซึ่งมันเป็นอย่างนั้นและถูกโหมให้หนักขึ้นด้วยการเป็นเมโลดราม่าอีกชั้นที่น่าตกใจมากๆในตอนท้ายเรื่อง การพยายามโรแมนติไซส์ทำให้มันเกินเลยจากการแค่เป็นพรอพากันด้าดาดๆแล้วเปิดเผยคุณค่าที่มันยึดถืออกมาจริงๆอย่างน่าสนใจมากๆๆๆๆๆ

3. ต่างจาก ผู้บ่าวไทบ้าน หนังท้องถิ่นนิยมเรื่องนี้ไม่ได้พูโคอนฟลิกต์ของท้องถิ่นกับกรุงเทพ (หรือท้องถิ่นกับโลก)แบบที่ผู้บ่าวไทบ้านพูดถึง หนังจึงเป็นอะไรที่ใต้มากๆ นั่นคือตัวท้องถิ่นไม่ยอมที่จะรู้สึกแปลกแยกกับกรุงเทพ และพยายามอย่างยิ่งที่จะให้โนราห์ไม่ได้เป็นศิลปะของท้องถอ่น แต่เป็นมรดกของชาติ คู่ตรงข้ามของโนราห์จึงไม่ใช่ ‘การเข้ากรุงเทพ’ แต่เป็นวงร็อคตะวันตก (ซึ่งที่จริงก็ไม่ใช่ตะวันตก แต่เป็นการรับเอาตะวันตกมาเป็นผลผลิตในภาค) และอันที่จริงมันไม่ได้เป็นปัญหาที่แท้ ของโนราห์ หนังไม่ได้ทำตัวเรียกร้องความสนใจว่าโนราห์กำลังจะตาย มันพูดอย่างนั้น แต่ความขัดแย้งจริงๆ หัวใจที่จริงคือการสูญเสียอำนาจของ วิถีโนราห์ และการพยายามเรียกคืนอำนาจแบบนั้นอย่างละมุนละม่อม และถึงที่สุด ศัตรูของหนังคือการผิดจารีต ซึ่งย้อนมาตั้งคำถามสำคัญได้ทันทีว่า ศัตรูที่อยู่ข้างนอกคือจารีตต่างหาก แต่นี่คือหนังที่ทำโดยคนผู้สยบยอม และได้รับอำนาจจากจารีต ศัตรูของจารีต จึงคือการผิดจารีตต่างหาก

4. จากนี้น่าจะมีการเปิดเผยเนื้อหาภาพยนตร์นะ จริงๆมันเดาไม่ยากหรอก แต่มันก็เป็นความลับของหนังเหมือนกัน

ความขัดแย้งสำคัญในหนังที่หนังพยายามจะพูดจริงๆคือการที่ถึงที่สุดสิงห์ทำผิดจารีตของพระเจ้า (ในที่นี้คือพ่อครู) ความขัดแยงในระดับมนุษย์นั้นสามารถแก้ไขได้ง่านสำหรับชาวใต้ (ในที่นี้พูดถึง texas ละกัน ) โดยไม่ต้องพึ่งพารัฐ นั่นคือพึ่งพาความเป็นพวกพ้องและอำนาจ การพาหนีของสิงห์กับสายทิพย์คลี่คลายได้ง่ายแสนง่านเมื่อพ่อของสิงห์ กับ นายหัวอำนาจ ที่เป็นเจ้าพ่อและส่งคนมาจัดการสิงห์นั้น เป็นพวกพ้องเดียวกัน รัฐไม่ต้องสอดมือยุ่งเกี่ยว ทุกอย่างแก้ไขได้ในท้อวงถิ่นด้วยวิธีคิดแบบรักพวกพ้อง (การอยู่แบบไม่มีพวกพ้อง หรือหวังพึ่งพิงรัฐ ซึ่งเจ้าหน้าที่เป็นคนมีพวกพ้อง และเสี่ยงมากที่เราจะขัดแย้งกับพวกพ้องของจนท.รัฐ จึงเป็นเรื่องอันตรายมาก)

แต่สิ่งที่อยู่เหนือความขัดแย้งระดับมนุษย์คือความขัดแย้งกับพระเจ้า (ในที่นี้ศักดิ์ของจารีตในสังคมปิด มีอำนาจในระดับพระเจ้า ยิ่งจารีตผ่านร่างทรง ยิ่งมีอำนาจราวกับพระเจ้าทรานสเฟอร์ร่างกายในพิรามิด) ความขัดแย้งที่ไม่อาจแก้ไขได้คือความขัดแย้งของ God VS Men ดังนั้นจุดจบของสิงห์จึงเป็นไปเพราะความขัดแย้งของสิงห์กับพระเจ้าที่จะไม่ได้รับการอภัย สิงห์ปาราชิกไปมีเมีย สิงห์ไม่เอาขันหมากมาไถ่โทษ ไม่ว่าจะทำอะไรก็ไม่สามารถแก้ไขความผิดได้ อาถรรพ์ ไสยศาสตร์ จึงเป็นแกนกลางของการควบคุมผู้คน และในหนังเรื่องนี้ เราจะไม่เห็นการตั้งคำถามว่าถ้าพระเจ้ามีจริง พระเจ้าไปอยู่ที่ไหนตอยลูกผมโดนฆ่าแบบเดียวกับที่แมกนีโต้ถาม แต่มันคือการสยบยอมโดยสมบูรณ์ด้วยการบอกว่าเพราะมันทำผิดจารีตมันจึงต้องเป็นไป หรือกล่าวให้ถูกต้อง กรรมคือพลังพิเศษของพระเจ้าที่ศาสนาช่วยหนุนส่ง

5.หนังจึงไม่ได้ทำหน้าที่เพียงเชิดชูโนราห์ในฐานะมรดกของแผ่นดิน ซึ่งหนังทำได้ดีมากๆๆด้วยสองส่วน คือการถ่ายเรือนร่างของการฝึกซ้อมของสิงห์ด้วยสายตาเอกโซติคมากๆ ซ้อมในวัด ริมทะเลสาบ หรือในห้องแสงสาดส่องเรือนร่างซิกแพค กับอีกส่วนหนึ่งคือการทำหน้าที่เป็น Visual Anthropology บันทึกพิธีกรรมของโนราห์ ตั้งแต่การรำโนราห์ (ฉากโนราห์โรงครูแทงจระเข้นี่น่าตื่นเต้นมาก เป็นสิ่งที่เราไม่เคยเห็นมาก่อน) หรือการเป็นโนราห์ (ฉากรับเด็กเป็นโนราห์ที่มีการเอาเท้าเหยียบเครื่อง ลนไห และนาบบนหน้าเด็ก) หรือฉากการเป็นโนราห์ใหญ่ (ฉากตัดจุกสวมเทริด) หนังอาจจะให้เวลาน้อยไปหน่อย แต่ฉากพวกนี้ถูกถ่ายออกมาอย่างน่าตื่นเต้นมาก( กรณีทำให้นึกถึงหนังเรื่อง ‘นางตะเคียน’ หนึ่งในหนังที่โดน Underrated มากๆ ซึ่งหนังให้เวลายาวนานมากๆๆในการถ่ายฉากงานศพแบบพื้นบ้านของคนภาคกลาง บางทีก็นึกอยากฉายหนังเหล่านี้ในทีม Visual Anthropology โดยมีแกนกลางเป็น ลูกอีสาน ของวิจิตร คุณาวุฒิ)

6.หน้าที่ของหนังจริงๆกลับเป็นการเชิดชูจารีต /พระเจ้า และบอกว่ามนุษย์นั้นเล็กจ้อยใต้จารีต ถ่าเป็นเช่นนั้น จารีต/พระเจ้า ก็ไมไ่ด้มีหน้าทรี่ในการทำให้มนุษย์เป็นอภิมนุษย์ แต่ทำหน้าที่ควบคุมมนุษย์ด้วยความกลัว และลงโทษมนุษย์ผู้ผิดจารีต ในแง่นี้ พ่อครูจึงไม่ได้ต่างเอบ ซาห์บาห์ นูห์ พระเจ้ามีไว้เพื่อควบคุมปกครอง และลงโทษ ผู้ไม่เห็นพ้องกับพระเจ้า แต่สำหรับศรัทธา (สมชื่อจริงๆ) เขาไม่ตั้งคำถามว่าทำไมพระเจ้าจึงลงโทษลูกชายของเขา เขายอมรับมันโดยสุดใจและศาสนายังหนุนส่งด้วยการทำให้หนึ่งในเหล่าอาชญากร ได้ล้างบาปด้วยการบวช ในขณะที่ Apocalypse พยายามต่อสู้กับพระเจ้า เทริดก็ยืนยันแบบประโยค there by a grace of god พระเจ้ามีอยู่ ก่อนจะสำทับผู้ชมอีกครั้งด้วย textท้ายเรื่องที่ตอกย้ำสาส์นสำคัญที่แท้ของหนัง คือการผิดจารีตต้องโดนลงโทษ

และนี่คือวิธีที่คนtexas ควบคุมผู้คนของตนในระดับแรกด้วยความเป็นพวกพ้อง ในระดับสองด้วยจารีตและพระเจ้า ด้วยการควบคุมสองชั้นนี้ (ไม่รวมชั้นกลางที่ว่าด้วยการเป็นส่วนหนึ่งของรัฐพุทธเถรวาทโดยไม่ขัดขืน เป็นส่วนหนึ่งโดยสมบุรณ์ ) การเป็นมิวแทนท์ในสังคมปิดจึงเป็นเรื่องอันตรายมากๆ การเป็นอื่นจะเป็นเพียงสภาวะของวัยรุ่นชบถซึ่งจะจบลงเมื่อเวลามาถึง และกลับมาสู่จารีตเดิมกลายเป็นส่วนหนึ่งของสังคม ออกลูกออกหลาน(การออกลูกออกหลานสำคัญที่สุดเสมอ) เพื่อสืบสานระบบให้คงอยู่ต่อไป การไปสอนทั้งยังตาบอดของครูศรัทธา หรือการมีลูกของสายทิพย์จึงเป้นที่สุดของการดำรงคงอยู่ของระบบ

7. เลยพ้นไปจากเรื่องนี้ ดูเหมือนตัวหนังก็ออกแบบมาอย่างดี การวางเรื่องของนิทานโนห์ราห์ พระนาง นวลทองสำลี ที่มาพ้องกับชื่อแม่ของสิงห์ หรือการถ่ายฉากพรานเท่งจับนางโนราห์เพื่อสื่อความหมายสองชั้นในระดับของคอนฟลิคท์ตัวละครหรือเป็นภาพแทนของตัวละครก็ละเอียดมากๆ การถ่าย landscape ของพัทลุง กับสงขลาก็หมดจดมาก(เพิ่งนึกขึ้นได้ว่าไม่เคยไปเที่ยวพัทลุงจริงๆเลย) หลังจากฟอร์มาลีนแมน (หนึ่งในหนังที่เรารักมากเรื่องหนึ่ง) ก็มีเรื่องนี้(โดยผีมือคู่เดิม เอกชัย – ภาคภูมิ วงศ์จินดา )ก็ทำให้สงขลา(ทีเรารัก) เรืองขึ้นมาได้

ที่ชอบมากกว่านั้นคือนางเอกน่ารักมากๆ ดูเป็นสาวใต้ที่ไม่เวรี่กรุงเทพจนเกินไปนัก

และเหนืออื่นใด ชอบเพลงป๊อปใต้ที่ถูกบันทึกในเรื่องมากๆ ทั้งจับเธอแก้ผ้าอ้อร้อได้ถ้วย ไปจนถึง มหาลัยวัวชน แค่นึกว่าเอาหนังเรื่องนี้มาดูอีกยี่สิบปีข้างหน้าก็ตื่นเต้นแล้ว

Embrace Of The Serpent (Ciro Guerra/Colombia-Venezuela-Argentina/2015)

เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์

เรื่องคือ คนพื้นเมืองลูกหาบของคนขาวพาคนขาวมาให้เขารักษาความป่วยไข้ เขายืนยันว่าคนขาวต้องได้ Yukruna ไม่ศักดิ์สิทธิ์ที่ขึ้นใกล้ๆต้นยาง ในยุคสมัยตื่นยาง เจ้าอาณานิคมร่วมกับคนโคลัมเบีย เกณฑ์อินเดียนพื้นเมืองไปเป็นแรงงานกรีดยางใช้งานเยี่ยงทาสและปฏิบัติราวกับไม่ใช่มนุษย์ เขาอาจะเป็นอินเดียนพื้นเมืองคนสุดท้ายที่ยังคงเป็นวิถีดั้งเดิม อาศัยอยู่ในป่าเป่าลูกดอกหากิน และยึดมั่นในวิถีดั้งเดิม

หลายสิบปีต่อมา นักพฤกษศาสตร์คนหนึ่งล่องเรือมา บอกว่าอ่านเรื่อง Yukrunaมาจากคนขาวก่อนหน้า และขอร้องให้เขาพาไปหาต้นไม่ศักดิ์สิทธิ์นี้ เขาผู้ซึ่งแม้จะยังอยู่โดดเดี่ยวในป่า เยี่ยงมนุษย์คนสุดท้าย บัดนี้ก็ลืมเลือนวิถีดั้งเดิมไปจนหมดสิ้นไม่ต่างจากพวกที่อยู่ในเมือง เขาจึงออกเดินทางไปหวังจะรื้ฟื้นตนเองคืนสู่บรรพบุรุษอีกครั้งหนึ่ง

และนี่คือการล่องเรือสองครั้งของคนขาวเจ้าอาณานิคม กับอินเดียนพื้นเมืองไปตามเส้นทางของการล่าอาณานิคม การต่อต้าน การยอมรับ การกลายเป็นส่วนหนึ่งของแม้น้ำที่เลื้อยเหมือนรูปทรงของอสรพิษ

สิ่งที่น่าสนใจคือดูเหมือนตัวละครหลักของหนังก้ำกึ่งที่จะเป็นภาพเหมารวมของคนขาวและคนพื้นเมือง แต่ถึงที่สุดกลับเป็นภาพที่ไม่สามารถเป็นตัวแทนของคนทั้งสองแบบได้เลย คนขาวในเรื่องไม่ได้เป็นผู้เผยแผ่ศาสนา มากพอกับที่ไม่ได้เป็นเจ้าอาณานิคมที่เข้ามากอบโกย แต่เป็นนักวิทยาศาสตร์นักศึกษา นักมานุษยวิทยา ดินแดนอาณานิคมไม่ใช่ขุมทองในการกอบโกย แต่เป็นสนามความรู้ การเข้ามา นี่คือบรรดาคนที่เข้ามาศิวิไลซ์ผู้คนด้วยจิตตั้งมั่นในความดีงาม แต่อออกผลมาอย่างพิกลพิการ คนขาวที่ไม่ยอมให้เข็มทิศแก่หัวหน้าเผ่าเพราะกลัวว่ามันจะไปทำลายการดูลมดูฟ้าแบบโบราณ คนที่ตามหต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์โดยไม่ปรารถนาจะครอบครองมากไปกว่าศึกษา อันที่จริงคนเหล่านี่ไม่ได้ชวนให้นึกเจ้าอาณานิคม หากกลับชวนให้นึกถึงเหล่า แบคแพคเกอร์ หรือฮิปสเตอร์ ในศตวรรษต่อมามากกว่า ตัวละครคนขาวที่หลบหนีจากสังคมตนเองมาหาความแปลกหน้าเอกโซติคในประเทศลึกลับ ในป่าอะเมซอน วาดรูปคนป่า แพทเทิร์นของพวกเขา ไปศึกษาต้นไม้ พิธีกรรมดั้งเดิม ไปค้นหาความเป็นคนป่าที่แท้ปกป้องพวกเขาจากการคุกคามของเจ้าอาณานิคมอย่างทำอะไรไมไ่ด้ หรือแม้แต่การเอาแผ่นเสียงเข้าไปฟังในป่าแล้วลอยล่องไปกับสมุนไพรหลอนประสาท

ในขณะเดียวกัน คนพื้นเมืองในฝันของพวกเขาคารามาคาเต คือภาพแทนคนป่าออเทนติคของคนข่าวสันตินิยม คนที่อุดมไปด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านให้เก็บเกี่ยว ให้ค้นหา ถ่ายทอดให้คนขาวที่ศิวิไลซ์แต่ขาดไร้การชิดใกล้ธรรมชาติได้ซึมซับธรรมชาติที่แท้จริง จากคนจริงๆที่อยู่ในธรรมชาติ ไม่ใช่คนพื้นเมืองปลอมๆที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจค้าความเอกโซติค(ในศตวรรษปัจจุบัน) แต่คนพื้นเมืองที่แท้นี้ไม่ใช่คนพื้นเมืองที่ร่วมอยู่ในการถูกกดขี่ดังที่เราเข้าใจจริงๆ ในฉากนหึ่งเด็กอินเดียนลูกหาบซึ่งอดรนทนไม่ได้กับการเกณฑ์คนไปกรีดยางชี้หน้าด่าเขาว่าเขาไม่ได้ทำอะไรเพื่อช่วยเหลือเพื่อนพ้องของตัวเอง ทำได้แค่หลบหนีไปอยู่ป่าและทำให้คนอินเดียนจำนวนมาก (ที่เขาเองมองเหยียดว่ายอมพ่ายแพ้แก่คนขาวและกลายเป้นทาสรับใช้มัน) ต้องถูกกดขี่ข่มเหงทั้งจากการครอบครอง (ถูกเกณฑ์ไปกรีดยาง) และการเผยแผ่ศาสนา (เด็กอินเดียนในโลสถ์วิปลาส) ถึงที่สุด ขณะที่คนขาวเข้าครอบครง คนดงโรแมนติคผู้ทรงภูมิไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าหลบอยู่ในป่าเพียงลำพังแล้วยังมีหน้ามาเหยียดคนอื่นๆว่าถูกทำให้กลายเป็นคนขาว

มองในแง่นี้ subaltern ที่แท้ในเรื่องจึงไม่ใช่คาราคมาคาเต แต่คือหนุ่มอินเดียนลูกหาบที่ถูกคนขาวเอาไปสมอ้างว่ามาช่วยปลดปล่อย และช่วยศิวิไลซ์ให้ ในขณะเดียวกันก็ถูกใช้เป็นเครื่องมือของนักชาตินิยมในฐานะของคนที่ถูกคนขาวกดขี่ คนที่ไม่สามารถพูดสิ่งที่ตัวเองเป็นจริงๆได้ เพราะถูกพูดแทนโดยทั้งคนขาว และนักชาตินิยม( ซึ่งไม่ปรากฏในเรื่องแต่อย่างใด)

มากไปกว่านั้นถึงที่สุดสิ่งที่พวกเขาตามหา ไม้ศักดิ์สิทธิ์ที่ถูกทำให้เสื่อมเพราะมันเพาะได้โดยไม่ต้องไปหาในป่า(ซึ่งนั่นทำให้ คารามาคาเตโกรธจัดจนทำลายล้าง) ก็ไม่ได้เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์อะไรมากไปกว่ายากล่อมประสาท ถึงที่สุดเมื่อมองเรื่องโดยยักยย้ายมายังยุคปีัจจุบัน มันก็คือเรื่องของแบคแพคเกอร์ขี้ยาชวนคนป่าเข้าไปปุ๊นกับเนื้อของแท้ไม่มีเทียมเท่านั้นเอง มองในแง่นี้ตัวละครหลักจึงเป็นภาพแทนที่ไม่ตรงไปตรงมากับการเป็นหนังต้านอาณานิคม และเป็นความเสียดเย้ยโลกหลังอาณานิคมทั้งในอดีตและปัจจุบัน

หากในขณะเดียวกันการฉายภาพของยุคอาณานิคมอยู่ในระหว่างทางไป ทั้งการกดขี่ของเจ้าอาณานิคม (สวนยาง) และการเผยแผ่ศาสนาของคนขาว ซึ่งในกาลต่อมาผลิดอกออกผลเป็นลัทธิคลั่งศาสนาที่ทุกอย่างบิดเบี้ยวไปหมด ในอีกทางหนึ่ง การล่องเรือของคนขาวและชาวพื้นเมืองในอาการต้านอาณานิคม้ก็เป็นภาพแทนที่ไม่แตกต่างกับการล่าอาณานิคมในตัวมันเอง ด้วยการ ก่อเรื่องทิ้งไว้โดยไม่อาจแก้ไขได้ในทุกจุดพัก ทั้งเข็มทิศกับชาวป่า การทิ้งคนงงานกรีดยางแขนขาดให้ผเชิญชะตากรรม หรือการพยายามทำดีช่วยเด็กจากบาทหลวงใจทราม ทั้งหมดคือการพยายามศิวิไลซ์ /ไม่ศิวิไซ์ผิดๆถูกๆที่จะสร้างผลกระทบไปชั่วกาล

เราอาจจะบอกว่าอสรพิษคือเหล่าคนขาวเจ้าอาณานิคมก็ได้ เพื่อจะบอกว่านี่คืออ้อมกอดของอสรพิษ ในขระเดียวกัน อสรพิษก็อาจจะคือแม่น้ำอะเมซอนอันคดเคี้ยวและสิ้นเรี่ยวแรง งูที่กำลังตายคล้ายกับฉากงูที่โดนเสือดาวจัดการในฉากหนึ่งของหนัง

และที่คือหนึ่งในหนังที่น่าตื่นเต้นที่สุดที่มันได้ฉายในโรงภาพยนตร์ในเมืองไทยและถือเป็นของขัวญสำหรับนักดูหนังในปีนี้

Equals (2016, Drake Doremus, US)

เขาและเธอเป็นพลเมืองแห่งรัฐไร้รู้สึก ผู้คนที่รู้สึก จะถูกเรียกขานว่าป่วยไข้ด้วยกลุ่มอาการ SOS (Switch On Syndrome) การปิดสวิทช์อารมณ์รักษาได้ด้วยยาแต่หากอาการลุลามถึงระยะสี่จะถูกส่งไปรักษาในโรงพยาบาลปรับอารมณ์ เกินครึ่งมักจบชีวิตลงที่นั่ง กลุ่มอาการของโรครู้สึก คือความสะเทือนใจ ความไม่มั่นคงทางอารมณ์ การเห็นอกเห็นใจผู้อื่น และความรัก

ในโลกเช่นนั้น การดำรงเผ่าพันธุ์เดินไปได้ด้วยการเกณฑ์ผู้หญิงไปตั้งท้องผสมเทียมแทนการเกณฑ์ผู้ชายไปรบ โลกหมดจดขาวสะอาดปราศจากสงคราม มีเพียงการค้นหาความลับของดวงดาวโพ้นไกล ผู้คนทำหน้าที่ของตนโดยไม่ต้องกังวลเรื่องการแต่งกาย ฐานะ หรือครอบครัว ทุกคนเป็นหนึ่งหน่วยการผลิต เขาเป็นนักวาดภาพประกอบ เธอเป็นคนเขียนบทความ ในหนังสือสำหรับการศึกษา วันหนึ่งผู้คนมีความรู้สึกพลัดหล่นตัวเองลงจากตึก ซึ่งเป็นกุ่มอาการที่พบบ่อยครั้งในระยะที่4 ความรู้สึกนำพาความยุ่งยากมาให้และเสมอจบลงด้วยความตาย ชั่วขณะหนึ่งเขาลอบมองเธอครั้งหนึ่งเห็นเธอกำหมัดและนิ่วหน้า เขาตกหลุมรักเธอ หญิงสาว ‘สายแฝง'(Hider) ซ่อนความมีอารมณ์ของตนไว้โดยไม่ยอมเข้ารับการรักษษ และการตกหลุมรักทำให้เขาป่วยไข้ เธอไม่ได้เยียวยาให้เขาหาย แต่ทำให้คนทั้งคู่ปลีกออกจากสังคม และถึงที่สุดจำต้อง ‘ถูกรักษาจากอารมณ์’ นี้

ครึ่งแรกของหนังช่างแห้งแล้งในสถาปัตยกรรมของ ทาคาโอะ อันโดะ(เพื่อนบอกมา) ตัวละครที่ขาวสะอาดไร้ความรู้สึก ความแห้งแล้งของครึ่งแรกทำให้รู้สึกว่านี่คือ1984 ภาคขาวสะอาด ซอฟท์ใสสไตล์แอปเปิล แต่อาจดูน่าเบื่อ เพราะหนังไม่มีอารมณ์ทั้งรัก ทั้งชัง กดดัน สิ้นหวัง หรือแม้แต่การขบถ กระทั่งการสอดส่องที่ตัวละครกลัวและพูดถึงก็ไม่แสดงออกมาให้เห็นจนเผลอคิดว่ามันเป็นหนังไซไฟหัวอ่อนคิดไม่เสร็จ จวบจนกระทั่งครึ่งหลังมาถึง

เพราะต่างไปจาก 1984 นี่ไม่ใช่นิยายไซไฟวิพากษ์โลกแห่งการควบคุม มันไม่มีหน้าที่ต้องแสดงภาพฉายชัดเจนของระบบโดยรวม ชนชั้น ทางเลือกและการถูกบังคับของมนุษย์ ทั้งหมดไม่ได้มีความสำคัญ ในความขาวโพลนของเสื้อผ้า เฟอร์นิเจอร์ และความคดโค้งอ่อนโยนของอาคาร เพราะสิ่งที่หนังต้องการคือคลี่คลายความเอ่อท้นของการมณ์จากความแห้งเหือดที่ละน้อย แน่นอนที่สุด มันไม่ใช่หนังไซไฟ แต่มันเป็นเรื่องรัก

ตัวละครในเรื่องจึงไม่ทำอะไรมากไปกว่าการยอมจำนน ไม่มีหัวหน้าขบถใต้ดิน มีเพียงกรุ๊ปเธอราพีของHider ที่พยายามจะเอาตัวรอดในสังคมนี้ ไม่มีผู้ปกครองใจชั่ว เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่าใครคิดกฏขึ้นมา เราเห็นเพืยงคนเซื่องๆสองคน ซึ่งพยายามจะรักกันโดยไม่รู้ตัวมาก่อน ในโลกที่ความรักไม่ด้แค่ต้องห้าม แต่ถูกกำจัดออกไป มันเป็นสิ่งใหม่ ที่คล้ายเชื้อโรคทำให้ผู้คนป่วยไข้ ไม่มั่นคง (ซึ่งอันที่จริงความรักก็เป็นเช่นนั้น และเคยเป็นเช่นนั้นในอดีต -อ่าน ความรัก ความรู้ ความตาย , ธเนศ วงศ์ยานนาวา ประกอบ)

มันเป็นเรื่องการเรียนรู้ที่จะรักความรักทำให้มนุษย์เป็นมนุษย์ ไม่ใช่เครื่องจักร (ชอบคำว่าเครื่องจักรมากกว่าหุ่นยนต์ เพราะเร็วๆนี้หุ่นยนต์อาจมีหัวใจได้) ความยุ่งยากของความรักการจัดการไม่ได้ของความรักความอ่อนแอของความรักจึงเป็นเรื่องได้ไม่คุ้มเสียในสังคมที่สเถียร สะอาด และมั่นคงแล้ว เป็นสิ่งที่เป็นตัวกวนของระบบซึ่งดำรงคงอยู่ และวิธีการจัดการทำได้โดยเยียวยาเหมือนเชื้อโรคแบคทีเรีย หากเป็นไวรัสที่เยียวยาไม่ได้ ก็ใช้วัคซีนสร้างภูมิคุ้มกันเสีย

มันจึงงดงามมากที่ครึ่งหลังหนังได้พลังการแสดงความเอ่อท้นทางอารมณ์ที่ไม่สามารถแสดงออกมาได้ของKristen Stewart เธอดึงตัวละครให้เข่าสู่ภาวะใกล้บ้าใต้สีหน้าเรียบเฉยและผมมันเยิ้ม ความอัดอั้นที่อธิบายไมไ่ด้ ฉากที่งดงามมากเมื่อเธอมาเคาะประตูหน้าบ้านของเขาหลังจากเขาพยายามไปจากความรักเพื่อความปลอดภัย นำไปสู่ฉากรักที่เต็มไปด้วยความรู้สึกของสัตว์โลกสองตัวที่มีหนทางเดียวคือกอดกันให้แน่นพอ

และเพราะมันเป็นเรื่องรัก เป็นหนังที่เชิดชูบูชาความรัก เพราะความรักคือร่องรอยของความเป้นมนุษยื การที่หนังไม่ไปแตะส่วนอื่นๆของการวิพากษ์ระบบจึงผลักดันหนังไปในจุดที่เจ็บปวดมากๆ แม้ฉากไคลแมกซ์อาจจะไม่เกินคาดเดา แต่หนัง ก็ละทิ้งการต่อสู้ของมนุษย์ในฐานะพหูพจน์ ไปสู่การดิ้นรนในฐานะปัจเจกชนที่จะรักต่อไป แม่ไม่อาจจะรักได้ สิบห้านาที่สุดท้ายของหนัง จึงงดงามมากๆตั้งแต่การจัดตำแหน่งตัวละคร ระยะของกล้องกับนักแสดงจากคนหนึ่งไปยังอีกคน และการเลือกจบในจุดที่สวยงาม

หนังอาจไม่ได้ขบถอะไรเลย ไม่ใช่หนังแบบ Hunger Games ที่ปลุกใจผู้คน มันเป้นหนังที่เต็มไปด้วยความยอมจำนน ความเศร้าและการต่อสู้เพื่อความทรงจำและความรู้สึกซึ่งทำให้เรากลับไปเข้าใจความทุกข์ของ Never let Me Go มากขึ้น และนี่คือคู่หนังที่สูสีกันในการอธิบาย มนุษย์ ในฐานะของHomo Sentimentalis ซึ่งอาจเป็นข้อด้อยของมนุษย์ แต่ก็เป้นสิ่งที่ทำให้คนบางคนยังอยากเป็นมนุษย์อยู่

THE VVITCH (2015, Robert Eggers, US)

เรื่องมันคือครอบครัวพ่อแม่และลูกห้าคนที่ออกจากศาสนจักรจั้งเดิมของชุมชน มาตั้งรกรากอยู่กลางป่า ผเชิญหน้ากับสิ่งลึกลับในป่า ซึ่งอาจเป็นแม่มด ลูกทารกคนเล็กถูกลักตัวไปต่อหน้าพี่สาวคนโต น้องชายเคร่งศาสนากำลังผเชิญกับบาปของการกลายเป็นวัยรุ่น เด็กฝาแฝดชายหญิงเกลียดชังพี่สาว พ่อกับแม่ระหองระแหงกันเรื่องการออกจากอาณาจักรของพระเจ้า เรื่องการออกจากอังกฤษมาอยู่ในแดนเถื่อน มีความชั่วร้ายอยู่ในป่า แต่สิ่งชั่วร้ายที่แท้คือกล่าวหากันเองว่าใครสักคนอาจเป็นแม่มด ความเกลียดชังปะทุแตกขึ้นภายในโลกที่มีแต่พวกเขาเอง กับภยันตรายทั้งสัตว์ร้าย ปีศาจ ป่า ลมฟ้าอากาศ ฤดูหนาวที่กำลังมาถึง นี่คือโทษของการแยกตัวจากชุมชน โทษของความเชื่อที่ไม่ตรงกับความเชื่อส่วนใหญ่ หรือมันคือการแสดงให่้เห็นว่าพระเจ้าที่เขาศรัทธาอาจไม่มีอยู่ และโลกของชายเป็นใหญ่ที่ถูกสั่นคลอนโดยการแยกตัวโดดเดี่ยว สถาบันครอบครัวใต้ศาสนาที่ไม่ได้ทำให้เข้มแข็งแต่ทำให้เปราะบางเพราะทุกคนคือสายสืบของพระเจ้าในการกล่าวหากันเอง แล้วยังมีแม่มด!

เอาจริงๆหนังไม่ได้น่ากลัวแบบแหลมๆ แบบที่เล่นกับความกลัวผิวเปลือกในขณะเดียวกันมันก็ไม่ได้เล่นกับความคลุมเครือ ความกลัวของมันเกิดจากความกดดันของผู้ชม ซึ่งได้เห็นแม่มดตั้งแต่ห้านาทีแรก ไม่ใช่หนังว่ามีแม่มดจริงไหม เพราะแม่มดอยู่ข้างนอกนั่นแน่นอนความกลัวจึงอยู่กับการที่เมื่อแม่มดลงมือ โธมัสซิน เด็กสาวตัวหลักของเรื่องจะต้องตกเป็นเหยื่อของการถูกสงสัย เริ่มจาดเธออยู่กับน้องเล็กตอนถูกลักตัว เธอแกล้งเด็กฝาแฝดว่าเธอเป็นแม่มด เธอคือตัวละครที่ถูกวางให้เป็นเหยื่อล่อ ลูกสาวคนโตที่ทำงานหนักทุกอย่าง แม่เกลียดเธอเพราะเธอทำน้องหาย พ่อใส่ใจลูกชายมากกว่า และเธอเองอาจจะถูกขายออกไปจากบ้าน สิ่งที่ทำให้หนังน่ากลัวจึงไม่ใช่แม่มด แต่คือสถานะของการถูกกดขี่ตลอดเวลาของเธอ มันจึงไม่ใช่หนังแม่มด แต่เป็นหนังล่าแม่มด ที่ผู้ชมต้องเอาใจช่วยเหยื่อที่ถูกกล่าวหา ถูกประนาม และมันไปถึงจุดสูงสุดตรงที่การประณามนั้นมาจากครอบครัวของตัวเอง

มันจึงเป็นเรื่องของสถาบันครอบครัวที่ศาสนาไม่อาจเยียวยา มันไม่ใช่หนังครอบครัวสู้ผี แต่เป็นหนังผีในครอบครัวเสียเอง อันที่จริงจุดยืนมันค่อนข้างน่าสงสัย เพราะมันพูดว่าครอบครัวนี้มีความเห็นทางศาสนาไม่ตรงกับชุมชน จึงขับตัวเองออกมาอยู่ชายขอบ หนังเป็นการลงโทษครอบครัวที่ไม่ประพฤติในจารีตสังคม แต่ดูเหมือนจารีตสังคมคือการตีความเชิงศาสนาไม่ตรงกัน และการออกมาของครอบครัว ไม่ได้เป็นไปเพราะเขาอยู่นอกศาสนา เป็นเพราะเขาเคร่งศาสนามากเกินไป แต่ศาสนาไม่ได้ปกป้องพวกเขาจากผีร้าย ศาสนาต่างหากที่ทำให้พวกเขามองหาผีร้าย ศาสนาจูงมือพวกเขาไปหาแม่มด ไม่ใช่ตัวแม่มดแต่เป็นการล่าแม่มด

ในจุดหนึ่งเมื่อหนังพูดถึงแม่มด มันย่อมหลีกเลี่ยงประเด็นพลังอำนาจของผู้หญิงไปไม่ได้ (ดังเช่นตัว W ที่หนังเขียนเป็นตัวVV ตัว V ที่เป็น V เดียวกับ Vagina ) ผู้กำกับให้สัมภาษณ์ประเด็นนี้ไว้ค่อนข้างละเอียดแต่ก็อยากเสริมนิดหน่อย ผกก.เล่าว่าแม่มดเป็นความกลัวของผู้ชายที่มีต่ออำนาจผู้หญิง ในขณะเดียวกันก็เป็นทั้งความกลัวและแฟนตาซีของผู้หฯญิง(ในยุคสมัยนั้น)ที่ไร้อำนาจต่อกร วิธีเดียวคือการกลายเป็นแม่มด และมีพลังอำนาจ ซึ่งเป็นพลังอำนาจเหนือธรรมชาติ อธิบายด้วยโลกของวิทยาศาสตร์/ศาสนาอันเป็นโลกของผู้ชายไมไ่ด้

มองในมุมนี้กลายเป็นแม่มด การกลายเป็แม่มด จึงเป็นทางออกคล้ายกับการเข้าป่าไปเป็นขบถของผู้หญิง (ในยุคสมัยนั้น -นำมาซึ่งการล่าแม่มดที่รุนแรงเหี้ยมโหด) ในอีกทางหนึ่ง มันทำให้นึกถึงความจริงในทำนองว่า สถาบันศาสนาและครอบครัวต่างหากที่สร้างแม่มดขึ้นมา หนังฉายภาพความล้มเหลวของพ่อผู้ซึ่งล่าสัตว์ไม่เป็นปลูกข้าวโพดไม่ขึ้น การพยายามธำรงสถานะของพ่อจึงยืนอยู่บนการกดขี่แรงงานและศีลธรรมจากลูกสาว (ว่าด้วยการขโมยถ้วยเงิน) แต่คนที่ออกแรงในการกำจัดผู้หญิงก็คือผู้หญิงด้วยกันเอง หรือแม่ผู้ได้รับอภิสิทธิ์จากผู้ชาย การล่าแม่มด ทำโดยผู้หญิงด้วยกันเอง แม่มดไม่ได้ทำอะไรมากไปกว่าการประกอบอาชญากรรม แต่สิ่งที่ทำให้ครอบครัวพังลงคือครอบครัวด้วยกันเอง ไม่ใช่แม่มด การล่าแม่มดสร้างแม่มด ไม่ใช่แม่มด การที่พ่อถูกปีศาจ(แพะ = ผู้ชาย) ฆ่าตายในกองฟืนท่วมถึงหลังคา การผ่าฟืนนั้นเป็นสิ่งเดียวที่พ่อทำได้ดีในฐานะผู้ชาย ทางออกของความเป็นชายที่ไม่สามารถทำอะไรได้นอกจากผ่าฟืน ขณะที่ลูกชายที่สือทอดความเป็นชายมาตายเพราะความเป็นชายในตัว การเติบโตจาเด็กเป็นผู้ใหญ่ผู้ชาย (ผ่านทางอารมณ์เพศ) ฆ่าความเป็นชายที่กำลังมาแต่ยังไม่ถึง ในขณะที่สำหรับลูกสาว มีแต่การฆ่าแม่จึงเป็นการปลดปล่อยตัวเองออกจากสถาบันครอบครัว จากผู้หญิงที่ยอมตามในโลกชายเป็นใหญ่และใช้อภิสิทธิ์นั้นมาจัดการผู้อื่น การเข้าไปในป่า ไปเป็นแม่มดจริงๆ เลยเป็นทางออกแฟนตาซีแบบสตรีนิยม อย่างน้อยก็ในสมัยนั้น

อย่างไรก็ตามแพะดำผู้นำทางเธอก็ปรากฏร่างเสียงในฐานะเพศชาย ลูซิเฟอร์เป็นชาย เป็นเพียงการหลบไม่พ้นของบรรดาสตรีจากผู้กดขี่และผู้ปลดปล่อยซึ่งเป็นชาย

อย่างไรก็ตาม การอธิบายหนังในกรอบเฟมินิสม์ อาจจะเชยและน่าเบื่อเมื่อเรามองว่าสิ่งทำสำคัญที่สุดในหนังเรื่องนี้คือการฉายภาพแม่มดจากโพ้นศตวรรษให้ผู้ชมได้สัมผัสถึงความกลัวจริงๆ หนังรวบรวมจากเรื่องเล่า ตำนาน นิทานของนิวอิงแลนด์จากยุคนั้น กระทั่งบทสนทนาก็คัดลอกมาจริงๆ (ภาษาอังกฤษยุคนั้นเท่จริงๆ) ซึ่งเป็นสิ่งที่คนทำรีเสิร์ชอย่างหนักหน่วง คนในสมัยปัจจุบันอาจจะจินตนาการความกลัวแม่มดของคนในอีดตไม่ได้แล้ว และนี่คือการกลับไปเข้าใจความกลัวในอดีตว่าแม่มดเคยในกลัวขนาดไหนในศตวรรษที่ 18

แม้อาจจะไม่ใช่หนังสยองขวัญทีชอบสุดๆ(ด้วยเหตุผลโง่ๆว่ามันเนี้ยบเกินไป) แต่นี่คือหนังที่น่าจดจำที่สุดเรื่องนึงขอ

Hanzawa Naoki (2013, Fukuzawa Katsuo +Takayoshi Tanazawa,JP) TV Series

เป็นขวามันเหนื่อย เป้นขวาญี่ปุ่นมันเหนื่อยเหี้ยๆ

หนังดุเดือดเลือดสาดดูแล้วเส้นเลือดในสมองพร้อมจะแตกตลอดเวลา แต่น่าตื่นเต้นมาก ทั้งมายาคติของมันและการตบหน้าคนดูเปรี้ยงในสิบวินาทีสุดท้าย

ละครญี่ปุ่นโดยเฉพาะกลุ่มละครสายอาชีพญี่ปุ่นมันสนองคุณค่าฝ่ายขวา ผลักคนให้เป็นเฟืองของระบบโดยเอาคุณค่าวิชาชีพมาตบแต่งให้สวยงามว่าหาดเรายึดมั่นในหลักของวิชาชีพ เราจะได้สิ่งที่ดีแน่นอน ละครพวกนี้ผดุงคุณค่าของพวกขวาที่จะไม่แตะต้องตัวระบบ มันจึงเป็นเรื่องของการต่อสู้ของฝ่ายขวาที่ดี(ซึ่หนังจะเล่าตลอดเวลา) กับฝ่ายขวาที่เลวซึ่งควบคุมระบบ ระบบในหนังจะไม่ถูกแตะต้อง เพราะมันคือคุณค่ารวมที่เราต้องยึดถือ มันจึงเป็นแฟนตาซีของคนเล็กคนน้อยที่escape ว่าฉันทำงานได้โปรได้ดี ได้มีหลักการ จะเติบโตก้าวหน้าในระบบได้หากโค่นล้มฝ่ายขวาขี้โกง วิธีนี้จะทำให้เราสยบยอมต่อระบบมากขึ้น

ละครเหล่านี้จึงไม่มีที่ให้คนนอก คนชายขอบ แต่ไม่ใช่การขับออกไป แต่เป็นการับเข้ามาอยู่ทั้งหมด จะเป็นคนชายขอบแค่ไหนก็ได้ขอให้ยึดมั่นในหลักการเดียวกัน อย่างน้อยก็เข้ามาสร้างชาติด้วยกันจะสร้างระบบใหม่ก็ได้ แต่ต้องไม่เป็นภัยต่อระบบเดิม valid ในทุนนิยม (จริงๆ อ่านเรื่องนี้มาจากซีเซกฉ่ายแต่ไม่มีปัญญาเขียนให้เกทได้หรอก) คยชายขอบ คนนอกจึงเป็นส่วนหนึ่งของระบบด้วย ขอเพียงมีกิมมิคสำคัญคือ ‘ความภาคภูมิใจในตัวเอง’

ผลก็คือไม่มีพื้นที่ให้คนนอกจริงๆ ไม่มีเลยพวกนั้นจะถูกเบียดตกขอบของสังคมออกไปเลย ถูกต่อต้านไปเลย ถูกทำให้หายไปเลย เพราะพื้นที่มันกว้างมากแต่ไม่ว่าคุรจะเป็นใครถ้าคุรไม่ยอมรับในระบบ และการเปลี่ยนระบบด้วยวิธีตามระบบ คุณจะไม่เหลือแม้แต่พื้นที่หลบภัย

พอดูแบบนี้ก้เลยเกทบรรดามิตรสหายที่บอกว่าญี่ปุ่นมันอยู่ยากจริงๆ ละครพวกนี้ทำให้ดูเหมือนว่าดี แต่จริงๆมันโหดมาก แล้ว เรื่องนี้ก็บีบคั้นความโหดออกมาจนเราสงสัยตลอดเวลาว่าถ้าเราเป็นพระเอกจะทนความกดดันทั้งหมดได้ไหม
ชอบตัวเมียพระเอกที่เป็นเหมือนเมียในฝันของการแฟนตาซีหนีระบบ คือยอมทุกอย่างเพื่อผัว ชอบที่หนังแสดงว่าในโลกฝ่ายขวาไม่มีพื้นที่ส่วนตัว บ้านของคุณ เมียของคุรก็ต้องสมบูรณ์พร้อมรับการตรวจสอบด้วย การเข้าสังคมของเมียฮันซาว่าจึงไม่ใช่แค่ารช่วยผัวแต่เป็นการให้ระบบกลืนกินเข้าไปเพื่อให้อยู่ได้

ชอบตอนจบของหนังมากๆ เมื่อมันเหมือนอยู่ดีๆก็ตบหน้าให้คนดูตื่นจากฝันว่า เฮลโหล! ศัตรูที่แท้จริงไม่ใช่ฝ่ายขวาชั้นเลว แต่เป็นระบบที๋โอบอุ้มมันอยู่ต่างหาก

Ten Years (2015, Ng Ka-Leung, Jevons Au, Wong Fei-Pang, Kwun-wai Chow, Kwok Zune, HK)

หนังสั้นห้าเรื่องที่เป็นเสมือน แรงกระเพื่อมจากคนฮ่องกงที่หวั่นไหวต่ออนาคตหลังจีนเข้ายึดครองเต็มตัว หนังฉายภาพฮ่องกงปี 2025ที่ทุกอย่างจะเปลี่ยนไป ในทางที่เลวลง

เริ่มจากเรื่องอขงเด็กหนุ่มสองคนที่ถูกจ้างไปก่อความวุ่นวายโดยการแสร้งว่าลอบสังหารนักการเมืองท้องถิ่นฮ่องกง เพื่อก่อความวุ่นวาย จีนจะได้ประกาศพรก.ฉุกเฉิน แต่ทุกอย่างมันหักมุมไปหมด เรื่องที่สองเป็นเรื่องของผัวเมียนักโบราณคดี ที่หันมาเก็บตัวอย่างของโลกร่วมสมัย เช่น ห้องของคนที่ถูกทางการลักพา ทำร้ายน ทพลาย ยิ่งเขาทำไปเรื่อยๆก็พบว่าspeciemn มีจำนวนมากจนกล่องเก็บไม่พอ และมันทำให้ทั้งคู่ซึมเศร้ามากขึ้นจนในที่สุดฝ่ายชายขอให้ฝ่ายหญิงเก็บspecimenของตัวเอง ซึ่งรวมทั้งการทำ taxidermy หรือสตัฟฟ์เขาไว้ เรื่องที่สามนี่พีคที่สุด เป็นเรื่องของแทกซี่ที่กำลังประสบปัญหาเพราะทางการเริ่มบีบให้คนที่พูดพูตงหัว(จีนกลาง) ไม่ได้ ให้หากินได้ยากขึ้น เช่นรับคนที่สนามบินไม่ได้ แทกซี่ต้องเรียนพูตงหัว ต้องเผชิญกับผู้ดดยสารที่พูดพูตงหัว บางคนก็พยายามคนที่พูดกวางตุ้งได้ GPS ก็ไม่ตอบสนองกวางตุ้ง ลูกๆไปเรียกหนังสือก็พุดกันคนละภาษา เรื่องที่สี่อาจจะกราดเกรี้ยวสุด เรื่องของ การประท้วงรบ.กลางที่ทำเป้นสารคดีสัมภาษณ์คนหลังจากมีคนไปเผาตัวตายหน้ากงศุลอังกฤษ เพื่อขอให้อังกฤษช่วยปลดปล่อย HK จากจีน แล้วสืบยอนไปเรื่อง umbrella rev. การประท้วงอดอาหารจนตาย การพยายาม uprise ของนศ. สิ่งที่ชอบคือมันมีทั้งคนที่อยากให้HK เป็นอิสระ แต่ไม่เชื่อความรุนแรง คนที่คิดว่าผู้ประท้วงเป็นแค่คนที่รบ.จีนจ้างมาเพื่อก่อความวุ่นวาย ตอนจบของหนังรุนแรงมากๆ หนังอาจเฉยๆแต่ตอนจบเล่นเอาน้ำตาซึมเหมือนกัน เรื่องสุดท้ายงดงามมาก เป็นเรื่องของคนขายไข่ ที่ขายไข่ฮ่องกงมาตลอชีวิต จนฟาร์มไข่โดนรบ.สั่งปิด ลูกไปเรียนหนังสือ ก็ต้องเป็น youth gard (แต่งตัวเหมือนRed Guard) คอยตรวจสอบคนอื่นที่ทำผิดกฏของรัฐ เช่นคำว่า local เป็นคำที่ผิดกฏหมาย youth gaurd ที่เป็นเด็กประถมจะถ่ายภาพส่งจนท. ไม่แว้แม้แต่พ่อแม่ตัวเอง แต่ฉากจบของหนังมีความหวังมาก และเราชอบฉากห้องหนังสือของหนังจริงๆ งดงามมากๆ

ตามประสาหนังรวมหนังสั้นหนังต้องมีดีบ้างเสียบ้าง แต่ที่สังเกตคือ นี่คือหนังที่แทบจะทิ้งกลิ่นแบบ HKmainstream ไปเลย ไปคล้ายหนังสั้นฮ่องกงใหม่ๆมากกว่า สงบกว่าไม่เอะเอะมะเทิ่ง และมีpolitical agenda ชัดเจนไม่ปิดบัง พอดูก็รู้สึกว่า เออน่าสนใจ แม้มันจะอ่อนความสนุกแบบหนังฮ่องกงสตูดิโอที่คุ้นเคยกันมาหลายสิบปี

จพอดูแล้วก็อยากฉายคู่กับ Midnight After ของ Fruit Chan ซึ่งมีความเป็นHK Mainstream เอะอะมะเทิ่ง เลอะเทอะเปรอะเปื้อน แต่พูดเรื่องเดียวกัน เรื่องความหสวั่นไหวของคนฮ่องกงต่ออนาคต

ไม่น่าเชื่อว่าเราเพิ่งดู Comreade, Almost Love Story ไปไม่นาน แต่ประเด็นทางการเมืองมันเปลี่ยนไปอีกแล้ว

พอดูจบก็รู้สึกรุนแรงว่า เด็กรุ่นต่อไป เป็นทั้งภัยคุกคามและความหวัง ระบบจะเปลี่ยนพวกเขาเป็นภัยคุกคามต่อคนรุ่นพ่อแม่ ยิ่งถ้าเราต่อต้านระบบอันมืดมัว แต่ทางออกเดียวคือเราต้งเปลี่ยนความคิดของพวกเขา ด้วยกำลังที่เรามี คนอื่นคงเป็นเรื่องอื่น แต่ของเราเองคงเป็นศิลปะสายแมส เช่นหนังสือ ดนตรี หรือภาพยนตร์มันโคดสำคัญ

 

Captain America:​ Civil War (2016. John Russo +Anthony Russo, US)

ไม่นึกว่าจะมีวันที่อินกับหนังตระกูลอเวนเจอรส์ อย่างรุนแรง ตอนแรกคิดว่าแค่ไม่หลับก็โอเค เพราตราบใดที่มีสตาร์คในเรื่องก็อยากให้มีคนเอามีดไปแทงมันให้ตายตลอดเวลา แถมภาพนี้ไม่มีพี่ธอร์ (อร๊างงงงงงง) ด้วย

แต่พบว่าตัวเองอินกับ สตีฟ – บัคกี้ อย่างรุนแรง ซีนกัปตันไปช่วยผัในเบอร์ลินมันพีคมากๆ มันไปสู่ระดับ โลกนี้ไม่มีใครเข้าใจเราสองคน เราสองคนหนีไปด้วยกันเถอะ ซีนที่รุนแรงมากๆคือซีนสตีฟคว้าเฮลิคอปเตอร์แล้วเบ่งกล้ามทุกมัด กล้องจับอยู่ราวสามสิบวินาที พร้อมแคปชั่นในหัว ‘ตัวเองงงงง อย่าทิ้งเค้าปายยยยยย’

เอาจริงๆนอกจากความโรมแนติคบอร์เดอร์ไลน์ของสตีฟ บัคกี้ ก็ยังชอบประเด็นเซ็นไม่เซ็น เมื่อพจิารณาว่า กัปตันที่ถูกยกเป็นตัวแทนของเจตจำนงเสรี มันคือเจตจำนงเสรีของUS ที่จะโนสนโนแคร์ ข้อตกลงของ UN สิ่งที่กัปตันพูดในโลกจริงมันย้อนเป็นว่า US ทำตามเจตจำนงของตัวเองด้วยการบุกอิรักสิจ้ะ แต่ในระดับปัจเจกว่า UN จะเอาพวกเขาไปเป็นเบี้ยมันเวิร์ค เพราะมันส่งเสริม individualism เสรีภาพที่เข้าตีนกัปตัน ‘อเมริกา’ มากๆ

คล้ายๆแบทซุป ซุปกับกปัปตันคือ อเมริกายุคสงครามโลก พ่อคยหล่อคนดีกู้โลก ในขณะที่แบทกับสตาร์คก็คือพวก คอมมิวนิสต์เสรีนิยม (ตามคำของซีเซกฉ่าย) คือพวกนายทุนที่ ให้กูรวยแล้วกูจะช่วยโลก (ไปอ่านเพิ่มเอาเองในหนังสือซีเซกฉ่าย) ซึ่งน่าหมั่นไส้กว่าพี่อเมริกันคุณพ่อรู้ดีแต่ใจซื่อเป็นไหนๆ(ที่จริงก็น่าหมั่นไส้พอๆกัน) แต่ความกระอักกระอ่วนจริงๆที่หนังเล่นคือ ไม่ว่ามึงจะเป็นแบบไหนมันมีเหยื่อ และการที่ตัวร้ายในภาคนี้เป็น เหยือของการกู้โลก ไม่ใช่พวกหวังครองโลก มันเลยมีน้ำหนักว่า ปฏิบัติการของมึงมีปัญหาในตัวมันเอง มันเลยดีที่เลือกจบโดยไม่พยายามเชิดชูว่า มึงซวยช่วยไม่ได้ตายไปซะ ต้องเสียสละอะไรงี้ เพราะเหยื่อมันย้อนกลับมาหาตัวอเวนเจอรส์เอง กัปตันเลยต้องเสียผัว (เอ๊ย เพื่อนรัก) และสตาร์คต้องเจอความจริงอันเลวร้าย

การที่หนังดีลกับประเด็นคนบริสุทธิ์ที่ต้องซวย ท้าทายความชอบธรรมของหนังพอสมควร (แต่แน่นอนหนังมันต้องตีสองหน้าอยู่แล้ว) ซึ่งจริงๆก็ชวนให้คิดถึงเรื่องที่แบทซุปควรขยี้แต่ไม่ขยี้คือ โอกาส 0.01% ที่ฮีโร่จะมีpotentialในการทำลายคนอื่น การจัดการด้วยความกลัว คือการจำกัดขอบเขตอำนาจของฮ๊โร่ แต่ Civil War มันตีความเข้าข้างตัวเองว่าถ้าเราเป็นคนดีแล้วไซร้ เจตจำนงที่ดีจะทำให้เราไม่ตกเป็นเครื่องมืิอของการเมือง ซึ่ง individualism มันมีปัญหาในตัวมันเอง (มาดูแถวนี้ก็ได้) พอมันเอาเรื่องของเหยื่อมาล้างแค้นมาบาลานซ์ก็ทำให้เรารู้สึกทอนทั้งความเกลียด และความชอบลง ชอบความกระอักกระอ่วนตรงนี้มากๆ