El Club (2015, Pablo Larrain, Chile)

โครงเรื่องเป็นเหมือนภาคแยกของ Spotlight ว่าด้วยบ้านสีเหือบนเนินติดทะเล เป็นที่อยู่อาศัยของบาทหลวงที่โดนพักงาน พวกตุ๋ยเด็ก พวกตุ๊ด พวกทำแท้งเถื่อน หรือพวกที่ป่วยจริงๆ บ้านมีบาทหลวงสี่รูปกับนางชีที่เป็นผู้ดูแล พวกเขาไม่มีอะไรทำนอกจากสวดภาวนา ร้องเพลง และฝึกหมาเกรย์ฮาวนด์ที่เก็บมาจากข้างถนน มาวิ่งแข่งหาความบันเทิงเล็กๆน้อยๆ พวกเขาสัมพันธ์คนอื่นไม่ได้ จับเงินไม่ได้ เข้าเมืองไม่ได้ พวกเขาจึงส่งนางชีไปแข่ง แล้วยืนดูจากบนเนิน วันหนึ่งมีคนพาบาทหลวงอีกรูปมา ยังไม่ทันจะเข้ากันดี ก็มีคนมายืนตะโกนด่าพระหน้าบ้าน บอกว่ามึงตุ๋ยกูโดยอ้างว่านี่เป็นน้ำกามศักดิ์สิทธ์โดนตุ๋ยจะทำให้พรหมจรรย์จนกว่าจะแต่งงานและเป็นสายตรงถึงพระเจ้า การถูกตะโกนด่านำมาซึ่งโศกนาฏกรรม บาทหลวงอีกรูปถูกส่งมาสอบสวน ไล่สอบพระทีละรูปโดยมีเป้าหมายคือการปิดบ้านนี้เสีย ระงับเรื่องเสื่อมเสียเกี่ยวกับโบสถ์ แต่ยิ่งค้นลึก ทุกอย่างก็ยิ่งเป็นการเปิดปากแผลของความชิบหาย และทำให้มันลุกลามออกไปจนยากระงับ โดยที่การระงับเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาเสียเอง

หนังชวนให้นึกถึง Post Mortem ในแง่ที่ว่า Pablo Larrain เชี่ยวชาญมากๆในการแสดงให้เห็นถึงความเลวระยำต่ำช้าของพวกฝ่ายขวาที่ถูกกดทับ พวกคนที่เราคิดว่าหมดพิษสงเพราะเป็นพวกชายขอบ ถูกส่งไปใช้กรรม ไปอยู่เงียบๆ ดูเป็นคนที่ถูกกดไว้ แต่ในเวลาที่เหมาะสม คนพวกนี้จะคลี่คลายความเลวทราม ความเลือดเย็น ความไว้ใจไม่ได้ ความระยำต่ำช้าของตัวเองออกมาอย่างน่าขนลุก เพราะพวกเขา,ในขณะที่ทำเพื่อตัวเอง ได้มีจ้อแก้ตัวของการทำเพื่อรักษษคุณงามความดีของสถาบันที่สังกัด ของโลก ของสังคม ของพระเจ้า ของประเทศ คนเหล่านี้ประกอบอาชญากรรมโดยไม่ต้องรับโทษอะไร หนำซ้ำความผิดในอดีตก็ถูกกลบฝังเมื่อทำในนามของการรักษาศีลธรรมอันดี

จากนี้ไปเปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์

ในช่วงแรก ดูเหมือนเหล่าพระนักตุ๋ย เหล่านี้ เป็นเหยื่อของศาสนจักร พวกเขาหลบอยู่ในโลกของตัวเองใช้ชีวิตโดยมีหลักการส่วนบุคคลที่แข็งแกร่ง (ฉากที่เจ๋งมากๆคือบาทหลวงคนหนึ่งพูดเรื่องการเป็นโฮโมว่า เขาไม่ได้โดนจับเพราะเป็นโฮโม เขาโดนจับเพราะเขียนจดหมายถึงพระผู้ใหญ่ว่าเขาสามารถทานทนต่อความรู้สึกอยากเอาผู้ชายได้ การเอาผู้ชายกับการเอาเด็กนั้นไม่เหมือนกัน การเอาเด็กสามารถรักษาได้ ผู้หญิงผู้ชายเฮเทอโร ก็มีที่อยากเอาเด็ก และสำหรับเขาผู้เป็นเจ้าแห่งการทนนี้ เขามั่นใจว่าเขาคือคนที่ผ่านมาได้ เจาถูกจับเพราะเขาอดทนได้ ไม่ใช่เพราะเขาเอาเด็ก หรือการถกเถียงเรื่องการเอาลูกของเด็กสลัมไปให้คนรวย) หลักการเฉพาะของพวกผู้คนเหล่านี้ฟังขึ้นเมื่อคู่ขัดแย้งคือศาสนจักรที่แข็งแกร่ง เก่าแก่ และไม่ยืดหยุ่น พวกเขาเป็นเหยื่อในเบื้อต้นด้วยการเป็นคู่ขัดแย้งกับศาสนจักร จนเมื่อเหยื่อตัวจริง ปรากฏขึ้น

ชายหนุ่มที่ถูกหลวงพ่อตุ๋ยจนชีวิตพังพินาศ เดินทางตามบาทหลวงไปทุกที่เพื่อประณามเขา หรืออันที่จริงคือประณามศาสนจักรโดยรวม เขาคือตัวละครแบบเหยื่อใน Spotlight เด็กยากจน บาทหลวงชุบเลี้ยง ล่อด้วยการพบพระเจ้า แลกกับการอมจู๋ กลืนน้ำกาม โดนตุ๋ย อ้างว่านี่คือหนทางไปหาพระเจ้า เขากลายเป็นโฮโมที่ปฏิเสธความเป็นโฮโม เกลียดตัวเองที่สุขสมจากการร่วมเพศกับผู้ชาย และลุ่มหลงในคนที่ทำลายชีวิตของเขาเองการปฏิเสธตัวเองทรมานเขาอย่างรุนแรง เขากลายเป็นคนเร่ร่อนที่ทั้งพยาบาทและลุมหลงคนที่ทำลายเขา (ฉากที่รุนแรงมากคือเขาเอากับผู้หญิงแล้วขอให้ผู้หญิงทำตูดเขา มันอธิบายความชิบหายภายในได้รุนแรงกว่าการที่เขาไปให้ผู้ชายเอามากกว่าหนึ่งล้านเท่า)

คู่ขัดแย้งเปลี่ยนจากพระกับศาสนจักร ไปเป็นพระกับเหยื่อ ดูเหมือนพระมีศึกสองทางเพราะ ศาสนจักรจ้องจะเล่น และเหยื่อก็ตามรังควาน แต่นี่ไม่ใช่เรื่องของคนดีที่ถูกรังแก การโต้กลับของพระในการจัดการกับคนไม่มีปากเสียงจึงเป็นวิธีการที่โหดเหี้ยม ชวนให้ขนลุกอย่างรุนแรง แต่กระนั้น การที่หนังแบ่งการจัดการออกเป็นสองขา แสดงให้เห็นระดับความเหี้ยมโหดในจิตใจของฝ่ายขวาที่ยังไม่ตายได้ดุเดือดมาก เมื่อคนหนึ่งเลือกละเมิดทุกกฏ จัดการทางตรงในขณะที่อีกฝั่ง จัดการผ่านการปลุกปั่นมวลชน ด้วยการประกอบอาชญากรรมกับผู้ไร้ปากเสียงตัวจริง(ในที่นี้คือหมา) วิธีการแบบมือไม่เปื้อนเลือดและผลักคนชั้นกลางในเมืองไปตายแทนด้วยการก่อาชญากรรมมวลชนแบบเดียวกับ Wreckmeister Harmonies จึงเป็นฉากที่รุนแรงที่สุดฉากหนึ่งและทำให้ประหวัดถึงเหตุการณ์จริงในที่อื่นๆ ในชิลี และในไทยด้วย

ศาสนจักรอยู่ตรงไหนในเรื่องทั้งหมด ถึงที่สุดศาสนจักรที่เป็นคู่ขัดแย้งสูงสุด พึงใจในการจัดการปัญหาของเหล่าพระ คนชั้นกลางไม่ต้องรับบาปอันใด ในขณะที่พวกเหยื่อได้ถูกจัดการปิดปาก แต่การปล่อยให้ใครก็ตามกระด้างกระเดื่องเป็นที่ยอมรับไมไ่ด้ วิธีจัดการของศาสนจักรจึงลงเอยด้วยกาให้โอกาสคนทั้งคู่ และในขณะเดียวกันลงโทษคนทั้งคู่ แบ่งแยกแล้วปกครอง การที่เหยือและอาชญากรได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของคลับ การได้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทั้งเพื่อความอยู่รอด เพื่อชีวิตที่ดี และเพื่อปกปิดอาชญากรรมของตนทำให้สังคมดำเนินไปได้ และนี่คือกลไกการดำรงคงอยู่ของสังคม ไม่มีสิ่งใดเปลี่ยนแปลงหรือถูกทำลายลง การที่ผู้มีอำนาจ (จงเปลี่ยนศาสนจักรเป็นคำอื่นตามแต่ใจท่าน) เลือกจัดการกับพระ (อีลิท/ชนชั้นนำ/ผู้มีอำนาจ) กับเหยื่อ (ชาวบ้านร้านตลาด) ด้วยท่าทีโอบอ้อมอารีต่อทุกคน รักษาความเข้มแข็งของสถาบันให้ดำรงคงอยู่ต่อไป ในขณะเดียวกันปิดปากทุกคนจากการพยายามค้นลงไปในอาชญากรรมที่ในที่สุดทุกคนล้วนมือเปื้อนเลือด นี่คือรูปแบบการปรองดองแบบเดียวที่เกิดขึ้นได้ ที่เราอาจได้รับ มีคนกินรวบ ระบบดำรงคงอยู่ต่อไป และเราก็ถฏกดขี่อย่างมีความสุข มีอำนาจต่อรองเล็กๆน้อยๆต่อไปในสังคม

มันจึงเป็นหนังที่พูดเรื่องเล็กอธิบายเรื่องใหญ่ได้อย่างรุนแรงที่สุด ร้ายกาจที่สุด และทำให้ Pablo Larain ยังคงทำหนังทอปฟอร์มทุกเรื่องต่อเนื่องไปได้ (ยังไมไ่ด้ดู Tony Manero เลยจะว่าไป)

những cô gái chân dài (The Long -Legged Girl) (2004,Vũ Ngọc Đãng, Vietnam)


อ่านเจอว่าเป็นหนังสำคัญในแง่ที่ว่ามันดังมาก ป๊อปมากในเวียดนามตอนมันออกฉาย (ปี 2004) แล้วตัวมันท้าทายพอแรงเพราะมันทำให้ไซ่ง่อนเป็นเมืองเมโทรโปลิตัน เป็นมุมมองแบบสมัยใหม่ที่ไม่เป็นหนังโปรรัฐ โปรพรรค แต่พูดถึงการดิ้นรนของคนธรรมดา ผู้หญิง ต่างจังหวัดที่เข้ามาทำงานในเมืองแล้วอยากเป็นนางแบบ คือมันเป็นหนังสายทุนนิยม ลิเบอรัลสมัยใหม่ ซึ่งควสามป๊อบของมันทำให้รัฐไม่สบายใจเอาเรื่องอยู่ แต่มันเหมือนเปิดพรหมอแดนใหม่ๆจนต่อมาหนังเวียดก็กลายมาเป็นแบบปัจจุบัน

แต่มันไม่ใช่หนังอาร์ต แต่เป็นเมนสตรีมหน่อมแน้มที่ไปไกลกว่าที่คิด

เรื่องคือ ถึยเป้นเด็กสาวบ้านนอกที่เขาไซ่ง่อนมาอยู่กับพี่สาว ตอนมาใหม่ๆ มีช่างภาพคนนึงแอบถ่ายรูปเธอ ช่างภาพหนุ่มอาศัยอยู่กัยเพื่อนชายที่แออบชอบเขาอยู่ (และครึ่งแรกเราคิดว่ามันเป็นเกย์ตลอดเวลา) ช่างภาพเอาภาพถึยไปให้ลูกค้าดู แล้วลุกค้าชอบเธอเลยได้ไปเทสต์หน้ากล้องแล้วได้เป็นนางแบบขึ้นมาโดยไม่ให้พี่สาว(ที่เป็นครูสังคม)รู้ ต่อมาความแตกเธอเลยโดนไล่ออกจากบ้าน ไปอยู่กับเพื่อนนางแบบ แล้วมีเสี่ยช่างภาพมาชอบ เมียเสี่ยเป็นนางแบบใหญ่ เลยมากีดกันเธอ เธอตกอับต้องไปเดินแบบในบาร์ ชีวิตพังก่อนจะกลับมารู้ว่าตัวเองต้องการอะไร

หนังมันเมนสตรีมหน่อมแน้ม คลี่คลายง่าย ทำตัวเป้ฯหนังโฆษณา MV ขายความผอมบางของสาวๆขายาว (บางฉากนี่มีเงี่ยน) แต่ในความเมนสตรีม มันท้าทายพอตัวทั้งการที่ให้มีตัวละครเกย์ที่เป็นซับไลม์ซ่อนไว้ตลอดเรื่องโดยไม่เปิดเผยมากกว่าที่มันควรจะเป็น แต่สิ่งที่อชอบสุดๆคือการที่ตัวนางเอกมันเสียค่าใช้จ่ายสูงมากๆๆๆๆในการเป็นนางแบบ หนังทำให้เธอเสียคนจริงๆโดยที่ไม่ใช่เพราะโชคชะตา แต่เพราะเธอเลือกเอง ฉากเธอจบกับพระเอกมันเลยน่าสนใจว่า เธอไมไ่ด้ถูกบังคับ เธอเลือกเอง เธอเลือกพลาด แล้วเธอต้องเสียอะไรเยอะมากจริงๆซึ่ถ้าเป็นหนังไทยมันคงประนีประนอมกว่านี้

อีกฉากที่ชอบคือกำที่ตำรวจบุกจับการเดินแบบในบาร์ซึ่งมันจะเป็นเหมือนจับกะหรี่ รู้สึกว่ามันเป็นฉากที่อาจจะคลิเช แต่มันมีความเฮิร์ทบางอย่างของบรรดาเพื่อนนางแบบของเธอและมันเป็นฉากที่เธอ ต้องเจอกับทั้งความอับอาย ความแค้นที่ต้องแพ้ อะไรต่อมิอะไร รู้สึกว่าฉากนี้มันบาลานซ์ทุกอย่างออกมาดีมากๆ

ชอบหนังมากทีเดียว นึกไม่ออกเหมือนกันว่าทำใมหนังที่ดูหลอกๆแบบนี้ถึงทำงานเชิงอารมณ์แบบลึกกว่าความผิวเปลือกของัมนได้ ชอบการที่มันมีความบ้านๆแบบเวียดนามอยู่ในหนังมากๆด้วย

เนื่องจากหนังหายากมาก ที่มีในยูทูปก็ไม่มีซับ พลิกแผ่นดินหาเจอว่าไปดูได้ที่นี่

http://ptqphim.com/xem-phim/nhung-co-gai-chan-dai-hd-thuyet-minh_9f799/

แต่ภาพไม่ค่อยดีนะ

Ayat Ayat Cinta (2008,Hanung Bramantyo, Indonesia)


ถ้าถามว่าชอบหนังยังไง ก็ต้องบอกว่าชอบแบบเดียวกับที่ชอบหนังอย่าง Hum Dilde Chuke Sanam (1999,Sanjay Leela Bhansali) คือมันเป็นหนังgenre ที่ไปสุดทางของมันจริงๆ และสิ่งที่ทั้งสองมีร่วมกันคือมันไปสุดทางของgenre โดยbased on รากฐานทางศาสนา มากกว่าความเป็นสมัยใหม่ Hum Dilde เชื่อมั่นในการแต่งงานแบบฮินดูมากกว่าความรัก แต่ Ayat Ayat เป็นหนังรักที่มีรากฐานแบบอิสลาม มากกว่าแบบสมัยใหม่ ทำให้ ลอจิคในหนังมันเปิดหูเปิดตามากๆ จนทำให้รู้สึกว่า เฟมินิสต์จะต้องเกลียดหนังอย่างรุนแรง และมองจากฐานคิดของเรา หนังอาจจะเลวร้ายมากๆ แต่การมองมันผ่านฐานคิดของโลกอีกแบบหนึ่งมันทำให้มันเป็นหนังเมนสตรีมที่เปิดหูเปิดตาเรามากๆๆๆๆๆ

เหมือนชอบถามกันว่าเวลาดูหนังตะวันออกกลาง มันจะมีฌวนส์เรียกร้องเสรีภาพแบบคนในอยากออก และมันมีเซนส์ของการเอาใจโลกเสรีนิยม แต่ถ้าเป็นหนังสายศาสนาก็ทำตัวเป็น propaganda จนเชื่อได้ยาก วันนี้ได้คำตอบว่าเราต้องดูผ่านหนังเมนสตรีม รักผีตลกอะไรแบบนี้เพื่อเข้าใจจักรวาลของโลกตนละแบบของเรา (สำหรับหนังไทย ในยุคสิบหก เราสามารถเข้าใจโลกพุทธผี ได้อย่างรุนแรงเต็มที่ผ่านหนังผีสายพุทธ เช่น โรงแรมผี และโดยส่วนตัวคิดว่าจนถึงตอนนี้หนังของ ดุลยสิทธิ์ นิยมกุล ยังเป็นไม่กี่คนที่หลงเหลือรากฐานในทำนองนี้มากกว่าจะพยายามอธิบายให้เข้ากรอบคิดแบบสมัยใหม่ แบบวิทยาศาสตร์

เล่าเรื่องก่อน เรื่องมันคือ พระเอกเป็นหนุ่มอินโดที่ไปเรียนศาสนาในอียิปต์ เช้าห้องอยู่กับเพื่อนใต้ห้องของแม่ลูกชาวคริสต์ในตลาด พระเอกเป็นคนหล่อเหลาจิตใจดีงามสาวไหนเห็นก็ชอบ มีคนมาส่งจดหมายรักทุกวัน สาวใส่ฮิญาบแอบปลื้มเป็นแถวๆ ที่แน่ๆมี นูรุล เพื่อนนักเรียนที่แอบชอบพระเอก ตามด้วย มาเรีย สาวคริสต์ชั้นบนที่เป็นเพื่อนสนิท และยังมี นูรา สาวแถวนั้นที่มีพ่อชั่วช้าตบตีบังคับเธอขายตัว แต่พระเอกและมาเรียมาช่วยเธอไว้ ให้เธอพบพ่อแม่ที่แท้จริง พอพบเธอแอบมอบจดหมายรักให้เขา

แต่พระเอกเป็นมุสลิมแท้ เขาเอาจดหมายรักไปให้อาจารย์สอนศาสนาเก็บไว้ อาจารย์บอกว่า วิธีแก้มีแบบเดียวคือต้องมีเมีย ระหว่างนั้น พระเอกขึ้นรถไฟเจอฝรั่งอเมริกันหญิงสองคนกำลังป่วย หญิงคลุมหน้าคนนึงลุกให้สาวอเมริกันนั่งและถูกคนอียิปต์ด่าว่าช่วยพวกชั่วที่ทำลายปาเลสไตน์และอิรัค พระเอกไปห้ามเลยโดนชกหน้าเขียว ต่อมาสาวอเมริกันบอกว่าฌธอเป็นนักข่าว ให้พระเอกช่วยเธอเรื่องบทความโดยมีสาวคลุมหน้ามาอยู่เป็นเพื่อน

พระเอกไปทำทารุฟฟ ตามครูว่าไปดูตัวแล้วพบว่าแม่เจ้า สาวที่เขาจะแต่งงานด้วยคือสาวคลุมหน้านั่นเอง หล่อนชื่อไอชา สวยและรวยมาก แลัวทั้งคู่ก็แต่งงานกัน

หลังแต่งงาน มาเรียผิดหวังจนป่วยไข้ นูรุลก็ร้องให้ร้องห่มขอให้พ่อแม่มาขอพระเอกให้แต่งงานเป้นเมียสอง อยู่มาวันนึงมาเรียโดนรถชนจนโคม่า และพระอกโดนจับด้วยข้อหาข่มขืนนูรา และถูกตัดสินแขวนคอ!!!!!

จากนี้เป็นสปอยล์ ถ้าไม่ดูให้ข้ามไปเลย

SPOILLLLLLL

หลักฐานเดียวที่พระออกมีคือมาเรีย ไม่ว่าทำไงเธอก็ไม่ฟื้น ไอชาเลยขอร้องให้พระเอกแต่งงานกับมาเรียทั้งที่โคม่าอยู่ เธอถอดแหวนให้เขาใส่ให้หญิงอื่นเพราะฌะอรักเขามาก และเขาก็รักเธอมาก แต่งมาเรียแล้วนางฟื้นมาช่วยชีวิตพระเอกไว้ทัน เปิดเผยความลับของนูราห์ แต่ปัญหาคือพระเอกจะดีลยังไงกับเมียสองคน สวยทั้งคู่ คนนึงก็รักมีลูกกำลังท้อง อีกคนก็เพื่อนสนิทแถมกำลังป่วยหนัก

หนังดีลกับรากฐานคิดแบบอิสลาม การเชื่อในพระเจ้า มุ่งมันทำความดีให้อัลเลาะห์หาหนทางให้ หนังเชื่อสุดใจในเรื่องนี้และดำเนินไปในทางนั้น มองจากความรับรู้แบบโลกสมัยใหม่ หนังอาจมีทางออกทีดูโอเวอร์ บังเอิญ ไม่สมเหตุสมผล แต่ต้องไม่ลืมว่าทั้งหมดเกิดขึ้นได้ในบททดสอบของพระเจ้า หนังเชื่องอย่างนั้น ตัวละครเชื่ออย่างนั้นและเดินไปอย่างนั้น ตั้งแต่การต่อสู้กับการถูใส่ร้าย ไปจนถึงการอนุญาติให้มีเมียมากกว่าหนึ่ง หนังอาจจะประนีประนอมด้วยทางออกในตอนจบ แต่หนังแสดงให้เห็นว่าการมีเมียสอง ไม่ได้เป็นเรื่องเลวร้าย แค่ทรมานนิดหน่อย และต้องหาทางลงเอยที่แฟร์กับทุกฝ่าย

การชอบหนังไม่ได้แปลว่าเราสนับสนุนหนังที่ให้ผู้หญิงเป็นบ่อเกิดความชั่วร้ายและเป็นศักดิ์ที่ต่ำกว่าผู้ชาย แต่การมองจากมุมภายในทำให้เราได้เห็นโลกทัศน์อีกแบบที่น่าทสนใจมากๆ

และมากไปกว่านั้นหนังสนุกมากๆๆๆๆๆๆๆๆๆ จนแม้ว่าซับจะเลือ่นไปตั้งแต่ชั่วโมงแรกเราก็ยังดูจนจบ นางเอกสองคนก็สวยมากๆด้วย

The Pearl Button (2015, Patricio Guzman, Chile)

…………………………………..

เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์
……………………………………

เริ่มต้นจากหยดน้ำในทะเลทราย หยดน้ำหยดหนึ่งในผลึกควอตซ์ที่ถูกค้นพบในทะเลทรายที่แห้งแล้งที่สุดในโลกทางตอนเหนือของประเทศชิลี หยดน้ำที่เชื่อกันว่าในทะเลาทรายแห่งนี้เคยมีน้ำ น้ำทุกรูปแบบในจักรวาล จากนั้นเราก็ลัดเลาะไปตามฝั่งทะเลขอประเทศที่มีภูมิศาสตร์เป็นแนวยาวเคลียกับชายฝั่งแตกตัวออกไปเป็นหมู่เกาะมากมาย แล้วเราก็พบกับอินเดียนพื้นเมืองซึ่งเคยเป็นอยู่มาด้วยการเร่ร่อนไปตามฝั่งทะเล ด้วยเรือพายทำเองพวกเขาอ่านแล่นเรือข้ามแหลม อ่าว แวะพักตามเกาะแก่งอย่างไม่แน่นอน เป็นอยู่มานานนับศตวรรษ นับพันปีก่อนการมาถึงของคนขาว ตอนนี้พวกเขาถูกห้ามลงทะเลเพราะทหารต้องใช้พื้นที่ เขายังคงจดจำแผนที่ การพายเรือ การเดินทางไปตามกระแสน้ำโดยอาศัยสัญชาตญาณและภูมิปัญญาของตน

มีชนเผ่าอินเดียนถึงห้าชนเผ่าในชิลี พวกเขานุ่งห่มขนสัตว์ ใช้ชีวิตด้วยการย้ายที่ไปเรื่อยๆ พวกเขาต่างมีภาษาของตัวเอง แต่ไม่มีอภิธานศัพท์สำหรับคำบางคำ คำอย่าง พระเจ้า หรือ ตำรวจ นั่นไม่จำเป็นกับพวกเขา จนคนขาวเข้ามา จับพวกเขาไปสวมเสื้อไปหัดงานฝีมือและฉกชิงแผ่นดินของพวกเขาไป

พวกเขาบางคน บางคนอย่างจิมมี บัตตัน เป็นคนชนเผ่าที่ถูกขายไปอังกฤษเพื่อแลกกระดุมมุกไม่กี่เม็ด คนอังกฤษศิวิไลซ์เขา แต่หลายปีผันผ่าน เขากลับมาที่เกาะ กลับมาในสภาพสุภาพบุรุษอังกฤษ เมื่อมาถึงเขาถอดทุกอย่างออกจากตัว พูดพื้นเมืองคำอังกฤษคำใช้ชีวิตเยี่ยงคนพลัดถิ่นในบ้านตนเองตลอดกาล

นั่นคือคนขาว และการเข้ามายังมหาสมุทรซึ่งครั้งหนึ่งเคยกลืนกินเพื่อนของ Guzman ไป มหาสมุทรประดุจสุสานที่กลืนกินผู้คน บางคนกลับมาในสภาพศพน่าสะพรึง เปิดเผยความชั่วช้าของรัฐ หลังการปลดปล่อยประเทศของ Salvador Allende ไม่นาน อเมริกาก็สนับสนุนการรปห. นำไปสู่ยุคผเด็จการที่ยาวนานหลายสิบปี นักโทษการเมืองจำนวนมากถูกคุมขังในคุกลับบนเกาะแก่งห่างไกล หลายคนถูกฆ่า เชือดทั้งเป็น ข่มขืน ทรมาน สูญหาย และหนึ่งในวิธีที่ทำให้สูญกายคือการถ่วงด้วยท่อนเหล็กแล้วแล้วทิ้งลงมหาสมุทร ท่อนเหล็กซึ่งถูกค้นพบในสามสิบปีต่อมา ท่อนเหล้กที่ถูกห่อหุ้มด้วยสัตว์ทะเล ห่อหุ้มร่องรอยของเหยื่อที่สูญดับอาจจะเป็นเศษของเนื้อของดีเอ็เอ หรือกระดุมสักเม็ด

และนี่คืองานessay film ของ Guzman ที่ยังคงวนเวียนอยู่กับเรื่องการสังหารหมู่ในช่วงผเด็จการปิโนเชต์ ในคราวนี้เขาค่อยๆเชื่อมโยงเอา ดาราศาสตร์ ภูมิศาสตร์ วิทยาศาสตร์ อาชญวิทยา ประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา สังคมวิทยา ศิลปะ กวี มาอธิบาย โดยแทนที่เขาจะเหมือนกับผู้กำกับคนอื่นๆ กระแทกใบหน้าของผู้ชมด้วยความรุนแรง ความโกรธแค้น ความเจ็บปวด ด้วยภาพการทรมานที่น่าเกลียดน่ากลัว หรือการเล่าถึงความทรงจำอันเจ็บปวด หรือการสร้างความทรงจำขึ้นมาใหม่ราวกับการล้างแค้น เขากลับค่อยๆเล่าผ่านสรรพวิทยาต่างๆ แสดงให้เห็นว่าทุกสิ่งเชื่อมโยงกันเป็นหนึ่งเดียว ด้วยลีลาของกวี การสังหารหมู่ของเขาจึงไม่ใช่ความรุนแรง แต่มันคือความเศร้าที่กัดกินผู้คน ความเจ็บปวดที่อยู่ภายในร่างกายโดยไม่ได้บาดเป็นแปลแค่ระดับผิวหนัง ความสุขุมในการค่อยๆเล่า ในการค่อยๆเชื่อมร้อยสิ่งต่างๆเข้าหากัน ฉายภาพทุกข์เศร้ายาวนานหลายร้อยปีของประเทศ

หนังนั้นงดงาม แต่ความงดงามยิ่งทำให้ความโหดร้ายนั้นเข้มข้นและกัดกิน นี่คือสารคดีที่เหมือนบทกวีซึ่งสิ่งสำคัญไม่ได้อยู่ในภาพหรือคำ หรืออารมณ์ในห้วงขณะที่เราอ่าน ที่เราจ้องม้อง แต่อยู่ในความโศกลึกหลังจากนั้น

รักที่ขอนแก่น (2015 ,อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล,ไทย)

บทความนี้เปิดเผยเนื้อหาของภาพยนตร์และปกปิดการตีความบางส่วนของผู้เขียน

1.เรื่องคือ ป้าเจนเป็นอาสาสมัครดูแลบรรดาเหล่าทหารที่ป่วยเป็นโรคหลับไหลไม่ได้สติไม่เป็นเวล่ำเวลา พวกคนไข้นอนอยู่ในโรงพยาบาลใหม่ที่ดัดแปลงจากโรงเรียนเก่า ทุกวันป้าเจนจะไปคอยพยาบาลนายทหาร เช็ดตัวเฝ้าไข้อ่านไดอารี่ พูดคุยกับเพื่อนพยาบาล ทำสมาธิ พูดคุยกับพยาบาลและสาวพลังจิตที่สามารถจะมองเห็นความฝัน หรืออดีตชาติของเหล่าทหารที่หลับไหลได้ บางทีนายทหารก็ตื่นมาให้ป้าเจนได้ก่อร่อก้อติกเป็นครั้งคราว บางครั้งก็ออกไปดูหนัง ไปเดินตลาดโต้รุ่ง พูโคุยหยอกล้อ ก่อนจะหลับไหลไม่ได้สติ และได้รับเครื่องมือช่วยให้หลับฝันดีที่ทหารอเมริกันก็ใช้เป็นแท่งไฟหลากสีเชื่อมโยงกับการหายใจ ป้าเจนมีสามีเป็นอดีตทหารอเมริกัน (แต่นอกจากนั้นเธอก็มีกิ๊กเป็นบรรณารักษ์ที่ชวนเธออ่าน ‘อำนาจรักซาตาน’) เธอไปขอพรจากเจ้าแม่พี่น้องข้างหนองน้ำให้ขาเธอหายและลูกชายเธอฟื้น เจ้าแม่บอกว่าพวกทหารจะไม่ฟื้น เพราะโรงเรียนคือหลุมศพของราชาที่จะมาดูดเอาพลังของทหารในตอนที่กำลังหลับเพื่อเอาไปสู้รบแย่งชิงดินแดนในสงครามแห่งอดีตกาล วันหนึ่งป้าเจนพานายทหารไปเที่ยวเล่นในสวนสาธารณะ พบเด็กสาวพลังจิตมาขายครีมขจัดความอ้างว้าง เธอติดต่อกับอดีตชาติของนายทหารและพาป้าเจนท่องไปในท้องพระโรงของพระราชาทอดตาดูเมืองอันเรืองรองมาแต่กเก่าก่อน

2.งานของอภิชาติพงศ์ยังคงล่องไหลอยู่ในจักรวาลเดียวกับเรื่องก่อนๆ ตัวละครป้าเจนมากรักที่ทำให้คิดถึงป้าเจนในสุดเสน่หา โดยเฉพาะฉากทาครีมนายทหารที่เต็มไปด้วยความเงี่ยน นายทหารที่หลุดมาจาดสัตว์ประหลาด โรงพยาบาลและหมอ พยาบาลแบบในแสงศตวรรษ การเที่ยวเล่นครึ่งหลังที่เป็นเหมือนการรีเมคการดูหนัง นั่งเล่นริมสระใน สัตว์ประหลาด การกลับและความตายในพื้นที่แบบลุงบุญมีระลึกชาติ การผสมกันของตำนาน เรื่องเล่ารายวันมโนสาเร่ การเต้นแอโรบิค รำพลอง ขายตรง หรือการเวิร์คชอปสมาธิ และยาสมุนไพร โลกของอภิชาติพงศ์ยังคงเป็นโลกของชาวบ้านที่แยกขาดจากกันระหว่างความเป็นทางการ ความเป็นวิทยาศาสตร์ กับชีวิตรายวันที่วนเวียนอยู่กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ ภาษาอีสานสงวนไว้กับการพูดกันเอง การพูดกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่ิชิดใกล้ (สองเจ้าแม่ ,คู่รักชาวอเมริกัน) มันจึงเป็นโลกที่แม้แต่พยาบาลก็ยังใช้ยาสมุนไพร และทำสมาธิ ในขณะที่ภาษาทางการสำเนียงกรุงเทพเอาไว้ใช้พูดกับคนที่มี ‘ศักดิ์’เหนือกว่า เช่นคุณหมอประสาน หรือไม่ก็เอาไว้ใช้ โฆษณาชวนเชื่อ(สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทางไกล) แบบพี่จี๊ดขายครีม คุณหมอสมาธิ การพูดกลางบ้างอีสานบ้างของป้าเจนกับอิฐนายทหารชาวใต้ จึงเป็นการกระโดดข้ามไปมาทั้งในฐานะคนคนละพื้นเพไปจนถึงหน้าที่ทางการอย่างเช่น ผู้ดูแล และ คนไข้ ลูกกับแม่ หรือคู่รักต่างวัย ภาษาของการกระโดดข้ามไปมา

3. ในLandscape Theory ทฤษฎีภาพยนตร์ที่ใช้อธิบายหนังของคนทำหนังญี่ปุ่นกลุ่มหนึ่งในปลายยุคหกศูนย์ (ซึ่งต่อมาหลายคนวางกล้องไปจับปืนในปาเลสไตน์) นั้นเชื่อว่า ทุกๆพื้นที่ที่จับจ้องมอง ล้วนคือรูปแบบของการแผ่ขยายของอำนาจรัฐ (ในหนังเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งของ Masao Adachi อย่าง A.K.A. Serial Killer นั้น หนังทั้งเรื่องที่สร้างจากการตามรอยสถานที่ที่ฆาตกรฆ่าต่อเนื่องรายหนึ่งเดินทางไปขณะหลบหนีตำรวจ จึงเป้นหนังที่มีแต่เพียงภาพการจ้องมองพื้นที่ทัศนียภาพแต่เพียงอย่างเดียวโดยไม่มีมนุษย์ มี่แต่พื้นที่ และ การจ้องมองชั่วแล่น และเสียงจากข่าว พวกเขาเชื่อว่าทัศนียภาพเหล่านั้น ไม่ใช่แค่เพียงตึกรามบ้านเรือนท้องทุ่ง แต่มันคือสิ่งที่รัฐจัดวางในผู้คน เป็นรูปแบบของอำนาจ ) และในหนังเรื่องนี้โดยไม่ต้องขับเน้นทัศนียภาพ เรากลับค้นพบว่านี่คือหนังที่ว่าด้วยพื้นที่และการแผ่ขยายอำนาจของรัฐผ่านการครอบครองพื้นที่

หนังเร่ิมจากฉากของการขุดดิน ขุดโดยไม่มีใครรู้ว่าจะทำอะไร การขุลดึลงไปในผืนดิน นำพาผู้ชมไปพบกันพื้นที่ที่ถูกแทนที่ กำลังถูกแทนที่ ในฉากต่อมาเมื่อเราเห็นเตียงคนไข้ เห็นพยาบาล ในที่ที่ควรจะเป็นโรงพยาบาล แต่ที่จริงเป็นโรงเรียนที่ยังมีกระดานดำ บอร์ดจัดแสดงภาพประกอบการเรียนการสอน โรงเรียนที่เป็นพื้นที่ของการศึกษา (หรือในอีกทางหนึ่งคือการโฆษณาชวนเชื่อ กล่อมเกลาเด็กให้อยู่ในระเบียบของสังคม) กลับถูกแทนที่ด้วยการกลายเป็นสถานที่พักฟื้นซึ่งมีแต่ความหลับไหล (การหลับไม่ก่อการเรียนรู้) แต่การหลับเป็นการไม่เรียนรู้จริงหรือ ในโรงเรียนเก่าที่ยังแขวนภาพจอมพลสฤษดิ์ หนังบอกเป็นนัยว่าการนอนหลับคือการได้หลับเข้าไปยังอดีตชาติของตัวเองอีกครั้ง การนอนหลับฝันกลายเป็นการเรียนรู้ที่จะรำลึกอดีต ไม่ใช่อดีตธรรมดา แต่เป็นอดีตข้ามภาพชาติ และดูเหมือนเอาเข้าจริงๆ ในโรงเรียน โรงพยาบาลแห่งนี้ไม่มีใครอยากให้ใครตื่น ทุกคนต้องการการหลับ หรือทำให้หลับต่อเนื่องไปเรื่อยๆ จนกระทั่งขนาดต้องสั่งซื้อเครื่องมือช่วยให้หลับฝันดีมาประจำไว้รายเตียง เครื่องมือซึ่งเปล่งประกายเป็นไฟสีในยามหลับ ตอนแปดโมงเช้าเคารพธงชาติ มันอาจเปล่งประกายเป็นสีน้ำเงิน บางครั้งก็สลับแดงเหลืองขาว แต่บ่อยครั้งที่สุด สมราคานายทหาร มันจะเปล่งสีเขียว สีเรื่อเรืองของการหลับฝันดี ซึ่งเรื่อเรืองออกไปกระทั่งนอกพื้นที่ของโรงเรียน/โรงพยาบาล หากท่วมไหลไปในยสวนสาธารณะ ป้ายรถเมล์ แม้แต่โรงหนังห้างร้าน สีของไฟเรื่อเรืองแบบเดียวกับที่เราเห็นป้ายไฟรายทาง ป้ายที่มีอยู่ทุกที่ สีเรื่อเรืองของหลอดที่ไม่เคยหลับไหล มอบความสว่างชวนฝันทั้งในยามหลับและยามตื่น สว่างเป็นพิเศษอย่างน้อยสองสามครั้งต่อปี รังสีอาบไล้ไปทุกพื้นที่

และพื้นที่ของรัฐสมัยใหม่ (โรงเรียน /โรงพยาบาล) นั้นที่แท้แล้วไม่ใช่พื้นที่ของประชาชน ไม่ใช่แม้แต่พื้นที่ของรัฐ เพราะโรงเรียน/โรงพยาบาลแห่งนี้ที่จริงแล้วตั้งอยู่บนพื้นที่ซึ่งเป็นสุสานของพระราชาดึกดำบรรพ์ การหลับไปจึงกลายเป็นการแสดงให้เห็นถึงรัฐที่ไร้อำนาจแข็งขืน ในพื้นที่ที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ เป็นเพียงผู้อาศัย ทั้งหมดทั้งมวลจึงมีแต่การหลับฝันดีเท่านั้นที่เป็นเครื่องเยียวยา ความฝันที่พาผู้คนกลับไปเชื่อมโยงกับราชาโบราณ ไปเป็นข้ารับใช้ไพร่ฟ้า ในขณะเดียวกันพื้นที่ของโรงเรียนใหม่ ก็กลายเป็นพื้นที่ที่ถูกครอบครงโดยปูนปั้นไดโนเสาร์ และห้องสมุดอาเซียนก็ว่างโล่งและถูกครอบครองด้วยธงจำลองมากกว่าหนังสือ

กระทั่งพื้นที่ที่ป้าเจนมีส่วนร่วมอย่างเช่นสวนสาธารณะในเมือง ยังคงไม่ใช่ของป้าเจน แม้ป้าเจนจะมีกล้วยไม้ปลูกเองปักชื่อของตัวเอง แต่ป้าเจนก็ได้รู้ว่า อาณษเขตกว้างใหญ่ไพศาลนี่เป็นท้องพระโรงของพระราชา ในฉากนี้เอง ป้าเจนซึ่งไม่เคยเห็นพื้นที่ทับซ้อนนี้มาก่อน เดินตามนายทหารในร่างทรงที่พาทัวร์ปราสาทของพระราชา พื้นที่ที่มองไม่เห็นที่แท้เปิดเผยตัวอยู่ในพื้นที่ที่มองเห็น แย่งความหมายไป และในที่สุดชวนเชื่อให้ป้าเจนได้มองเห็นตามอย่างที่นายทหารมองเห็น การมองเห็นแบบเดียวกับในตอนจบของหนังBlow Up ของ Antonioni การมองเห็นที่มองไม่เห็น และเมื่อมองเห็นแล้วเราก็จะมองเห็น เมื่อมองไม่เห็น ริมหนองน้ำเป็นพื้นที่วุ่นวายของการขัดขืน ของความไม่สงบของการเล่นเก้าอี้ดนตรีของวัยรุ่น แต่เมื่อมองเห็น ภาพสงบที่แท้ของคนริมน้ำ คือภาพของทุ่งนา เมืองอุดมสมบูรณ์เพียงพอที่ไม่ต้องประดับประดาด้วยเพชรพลอย มีแต่เพียงทุ่งนาอันอุดมดังที่ป้าเจนมองเห็น ‘ศูนย์กลางอาณาจักร’ (ซึ่งคนดูไม่ได้รับอนุญาตให้มองเห็นแบบเดียวกับป้าเจน )
4.ในพื้นที่ระหว่างการมองไม่เห็นและการมองเห็นนี้เอง (เราอาจเรียกว่าพื้นที่ระหว่างการหลับและการฝัน ไม่เกี่ยวกับการตื่น) ทางเลือกที่คนอย่างป้าเจนเหลือมี พื้นที่ของป้าเจนจริงๆ จึงเป้นศาลเจ้าแม่สองนาง(ที่ดูเหมือนจะเป็นพื้นที่ของคนอื่นๆด้วยเพราะมีคนมาร้องเพลง มารำพลอง กันอย่างดาษดื่น) พื้นที่ของป้าเจนคือการผูกตัวเองไว้กับความศักดิ์สิทธิ์อบบพื้นบ้านที่ไม่อิงกับความศักดิ์สิทธิ์แบบทางการของรัฐ พื้นที่ของการแสวงหาตัวตน พัฒนาตัวเองผ่านทางการขายครีม ยาสมุนไพรแปะก๊วย เก๋ากี้ พื้นที่ตามมีตามเกิดซึ่งเราพอจะบอกได้ว่ามันเดินทางมาถึงในรูปแบบเดียวกับเครื่องช่วยให้ฝันดี มันคือโฆษณาชวนเชื่อระดับล่าง ที่กล่อมให้ฝันดีไม่ต่างกันกับการฝึกสมาธิ หรือการทอ่งดีตชาติ

กระทั่งในพื้นที่ที่เป็นส่วนตัวที่สุดอย่างร่างกาย นายทหารและป้าเจนยังไม่ได้เป็นเจ้าของ เรือนร่างของป้าเจนคือความพร่อมพิการที่ต้องการการรักษา (จากบรรดายากล่อมฝันทั้งหลาย) ขณะที่นายทหาร นั้นไม่แม้แต่กระทั่งสื่อสารโดยร่างกายของตนเองได้ เขาจึงต้องอาศัยการเข้าทรงผ่านร่างของสาวพลังจิต เพื่อสื่อสารกับป้าเจน ในฉากท่องท้องพระโรงนี่เอง ‘รักที่ขอนแก่น’ ได้ดำเนินไปสู่จุดสูงสุด กล่าวคือการร่วมรักผ่านทางร่างทรง และน้ำแปะก๊วย ในฉากนี้ นายทหารในร่างของหญิงสาว กับป้าเจนได้กลายเป็นอันหนึ่งอันเดียว ป้าเจนซึ่ง ‘เกิดมาเพื่อรักทหาร’ ได้ครอบครองนายทหารสมใจ ตรงนี้เองที่ป้าเจนตื่นขึ้น และได้พบว่ามันอาจจะเป็นหรือไม่เป็น อีกหนึ่งความฝันดีที่ไม่มีจริง

ในประเทศที่เราไม่ได้เป็นเจ้าของพื้นที่ใดๆเลย เป็นเพียงสัตว์เซลล์เดียวแหวกว่ายเวิ้งฟ้า เป็นเพียงผู้อยู่อาศัยไม่ส่งการบ้าน การตื่นนำพาแต่เรื่องโหดร้ายถาโถมมา (ครั้งเดียวที่ป้าเจนอาจจะตื่นคือการเดินในความมืด และบอกว่า ‘i’m the one who awake here’ โรงเรียนกลายเป็นพื้นที่รกร้างและความหนักอึ้งในจิตใจของการกลัวการถูกลงโทษที่ไม่ส่งการบ้าน แม้มันจะผ่านมานานแสนนาน การหลับจึงดีกว่าการตื่น แต่การหลับไม่ดีพอเท่ากับการกลับฝันดี และเครื่องมือกล่อมฝันดีนั้นมีมากมายทั้งในระดับยิ่งใหญ่อย่างไฟสี ไปจนถึงระดับดีไอวาย อย่างเช่น ครีมสมุนไพรทำเองหรือการฝึกหัดสมาธิเบื้องต้น

และเมื่อป้าเจนค้นพบว่าทั้งหมดคือการหลับฝัน ป้าเจนก็พยายามจะตื่น นายทหารบอกให้ป้าเจนลืมตาโตๆถ้าอยากจะตื่น ป้าเจนไปลืมตาในสนามที่เด็กๆเล่นกันบนกองดินทรายที่ถูกขุดจนพินาศราวกับหลุมศพ แต่ป้าเจนไม่รู้ว่าป้าเจนจะตื่นหรือไม่ หรือตื่นแล้วมันจะดีกว่าอย่างไรในเมื่อที่ป้าเจนมองดูคือเด็กๆของวันสิ้นโลก

และเสียงจากความฝันสุดท้าย ดูเหมือนจะอธิบายว่าการตื่นและการฝันล้วนต่างสิ้นหวังด้วกันทั้งสิ้น เสียงนั้นฝันถึงสิ่น่ากลัว และเฝ้าฝันจะฝันว่าเห็นมันพังทลายลง แต่ทั้งหมดเป็นความฝัน เป็นฝันดีที่ถูกมอบให้ ถูกส่งให้ ถูกยัดเยียดให้ และการฝันนอกความฝันดีที่ถูกสั่งมากลายเป็นความสิ้นหวังและความเศร้าก็เท่านั้นเอง

เขียนขณะนอนลืมตาโพลงในความมืด

 

ลูกทุ่งซิกเนเจอร์ (2016, ปรัชญา ปิ่นแก้ว ,ไทย)

ลูกทุ่งซับอัลเทิร์น
1. นี่ไม่ใช่ความพยายามครั้งแรกที่จะพยายามเอาเพลงลูกทุ่งขึ้นจอ และหวังตลาดทั้งคนพื้นบ้านและคนชั้นกลางในเมือง เพียงแต่ก่อนหน้านี้ หนังหลายชีวิตอย่างมนต์เพลงลูกทุ่งFM หรือ รวมพลคนลูกทุ่งเงินล้าน ยังพึ่งพาบริการจากนักร้องลูกทุ่งเพื่อเรียกคนดูคอลูกทุ่ง และ พยายามอัพเกรดให้ไปกันได้กับรสนิยมแบบเมือง ซึ่งทั้งสองเรื่องก็พิสูจน์แล้วว่าไม่สำเร็จ (แต่ความสำเร็จตกไปเป็นความพยายามเป็นลูกทุ่งโดยไม่สนคนในเมืองอย่าง แหยม 1) แต่นี่อาจจะเป็นครั้งแรกๆที่หนังเอาเพลงลูกทุ่งมายืนพื้นรับใช้ตัวละครที่เป้นคนเมือง ในแบบของคนเมือง มีวืถีชีวิตแบบคนเมืองล้วนๆโดยไม่มีความเป็นลูกทุ่งอะไรมาเกี่ยวข้อง เป็นหนังว่าด้วย ‘เพลงลูกทุ่งของคนกรุงเทพ’ ที่เล่าผ่านเรื่องราวๆดีๆเล็กๆเจ็ดแปดเรื่อง บางเรื่องมาจากเรื่องจริง บางเรื่องก็แต่งขึ้น เพื่อมุ่งมอบสภาวะเดียวกับที่เพลงลูกทุ่งมีนั่นคือการปลอบประโลมอย่างไม่ลืมหูลืมตา

เราจึงเห็นเรื่อง 1)คู่รักวัยชราที่พลัดพรากจากกันหลายสิบปี 2) แทกซี่ตามเมียที่ได้พี่เมธช่วยหา 3) เรื่องรักของหนุ่มเฉาก๊วยกับสาวหน้าผี 4)ประธานบริษัทหลงเสียงแม่บ้าน 5)หนุ่มที่ไม่ฆ่าตัวตายเพราะสาวลึกลับมอบจูบลึกลับ 6)เรื่องรักหนุ่มสาวในกองถ่ายหนัง 7) ยามสาวแอบรักดาราโดยมีแกนตั้งต้นเป็นเรื่องของนักร้องสายพ๊อพที่ต้อง ‘ลดเกรด’ไปร้องลูกทุ่ง และพค้นพบคุณค่าความหมายชีวิตในเพลงลูกทุ่ง

เส้นเรื่องทั้งหมดมีฟังก์ชั่นแบบ รักนิรันดร์ รักข้ามชนชั้น ความคิดถึงของคนไกลไปจนถึงพัพพี้เลิฟ ซึ่งทั้งหมดเป็นฟังกชํนของเพลงลูกทุ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องเล็กๆที่งดงาม

แต่ปัญหาของหนังคือการพยายามเป็นเรื่องเล็กๆที่งดงามนี้เอง เพราะในที่สุดหนังทุกตอนต้องจบให้สวย จบให้อิ่มใจ ถ้าทำไม่ได้ ให้เอาเพลงมากระตุ้นอารมณ์ ที่ตลกคือเกินครึ่งมันไม่สำเร็จในการเร้าอารมณ์ หลายครั้งล้นเกินด้วยพลอตที่เป็นเพียงเรื่องที่มันจะดีถ้าเล่าสั้นๆตัดทอนเหตุผล เพียงเชือกร้อยเรียงเหตุการณ์เข้าหากัน แต่การพยายามขยายยิ่งทำให้เรื่องมันดูอ่อนยวบ พาฝัน และเปิดเผยช่องโหว่ของความโรแมนติคออกมา

2.เราอาจบอกได้ว่า เนื้อเรื่องคือตัวยุ่ง เพราะเราคิดว่าหนังจะดีกว่านี้ถ้าหนังทำตัวเป็น MV ขนาดยาวขายความรู้สึกผิวเปลือกที่ใช้เพลงโหมประโคมไปเลย เพราะการพยายามจะเป็นหนังก้ไม่ได้ทำให้หนังพ้นไปจากความรู้สึกจะดับผิวเปลือกของความโรแมนติคอยู่ดี ตอนที่ไม่เวิร์คมากๆอย่างตอนน้องนน หรือตอนที่ล้นเกินมากๆทั้งที่เกือบจะดีอยู่แล้วอย่างตอนของพิศมัยและนุ่น กลายเป็นว่าตอนที่พอดีที่สุดเลยกลายเป็นตอนของ พี่น้อย หรือตอนน้องหนิมที่เริ่มต้นมาเพ้อมาก

เราอาจบอกได้เลยว่า เรื่องเล็กๆดีๆ ที่ดูเหมือนจะเป็นแกนของเพลงลูกทุ่งนั้นอันที่จริงมันไม่สามารถเขากันได้กับเพลงลูกทุ่งได้อย่างแนบเนียน เพราะในความเป็นเพลงลูกทุ่ง ต่อให้เพลงจะเล่าเรื่องที่มันสากลอย่างไร (บอกรักฝากใจ / เรารอเขาลืม/ บุพเพสันนิวาส เป็นเพลงที่ไม่มีบริบทเฉพาะเลยจนเอามาใช้อย่างไรก็ได้) มันก็มีความจำเพาะบางประการอยู่ ที่การถูกนำมาทำซ้ำเป็นเอ็มวีเรื่องเล็กๆดีๆกลายเป็นการเก็ยความไม่หมด ตีความไปไม่พอ แม้หนังจะมีตัวละครแบบ แทกซี่เมียหาย สาวหน้าผี หรือยามบีทีเอสเหงาๆ หรือแม่บ้านทำความสะอาด แต่ดูเหมือนภาพของคนจนเมืองในหนังบางเสียจนจับต้องไม่ได้ จนไม่มีเนื้อหนังของแก่นแกนของเพลงลูกทุ่งจำนวนมาก คือการฉายภาพเชิงชนชั้นไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม

การฟังเพลงลูกทุ่งโดยมันเองก็เป็นการแสดงออกทางชนชั้นในระดับหนึ่งอยู่แล้ว อย่างน้อยก่อนหน้าความพยายามสร้างปวศ.ที่เพิ่งสร้างว่าลูกทุ่ง=ความเป็นไทย ลูกทุ่งก็เป็นควาพมยายามต่อต้านลูกกรุงที่อยากจะเป็นลูกกรุง(แต่เป็นไม่ได้)ด้วย ถึงที่สุดลูกทุ่งโดยตัวมันเองมีหมุดหมายทางชนชั้นกำกับ และถูฏเขียนปวศ.ว่าเป็นเพลงของคนชั้นล่าง ที่ไม่ใช่ชาวกรุงที่ฟังเพลงลุกกรุง หรือ สากล หรือ ไทยสากล การพยายามขจัดชนชั้นออกไปของหนัง การทำให้ระนาบของยามปีทีเอส แทกซี่ หรือแม่บ้านเข้าใกล้คนอย่าง ซุเปอร์สตาร์ นักร้อง ประธานบริษัท จึงเป็นความพยายามที่ล้มเหลวในทำนองเจ้าอาณานิคมกับคนดำใน Chocolat ของ Calire Denis ซึ่ลงเอยด้วยความไม่อาจเข้ากันได้ในท้ายที่สุด

3. เวลาบอกว่าลูกทุ่งมีชนชั้นกำกับนี่ไม่ได้หมายความว่าชนชั้นอื่นจะไม่สาารถฟังได้ เพียงแต่มันมีความตระหนักรู้ ควาเมป็นอื่นบางอย่างมากำกับความหลงไหลนั้นด้วย (เราจึงสังเหตว่าเพลงลูกทุ่งเกินครึ่งที่ความจำเพาะเจาะจงบางอย่างอย่างไม่ต้องกังวลว่าจะเข้าไม่ถึงทุกคน เพลงของสาวไร่อ้อย เพลงของแทกซี่ เพลงของคนเรือ เพลงของชาวนา ทุกอย่างมีความเป็นสากลที่มีความจำเพาะเจาะจงกำหนดอยู่ และการฟังเพลงแบบนี้จะเป็นการซาบซึ้งข้ามบริบท) การพยายามทำลายความจำเพาะเจาะจงนี้ การทำให้เพลงลูทุ่งเป็นสากลเป็นป๊อบ จึงเป็นปัญหาโดยตัวมันเอง เหมือนที่หนังเป็นคือความพยายามอัพเกรดโดยทำให้ชนชั้นทางสังคมเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น ทอนมันออกให้เป็นเรื่องเล็กๆดีๆของคนธรรมดาที่เท่ากันซึ่งเป็นไปได้ยากในประเทศนี้อย่างน้อยก็ถ้าว่างช่องว่างทางเศรษฐกิจและการเข้าถึงทรัพยากรแตกต่างกันขนาดนี้

บรรยากาศของร้านลาบที่เหนือจริง(ซึ่งดี) ความสัมพันธ์ของแทกซี่กับผู้โดยสารที่รวดเร็ว(ซึ่งไม่ดี และดูมีลักษณะแบบสงเคราะห์สมราคาชาวกรุงเพทช่วยคนบ้านนอกตามมเมีย) หรือการออกรายการวิทวัส(ซึ่งเป็นเรื่องจริงและจริงที่รายการวิทวัสทำตัวเป็นรายการโชว์ของแปลก สงเคราะห์คนทุกข์)หรือเพลงลูกทุ่งในไอโฟนแบบออกลำโพง(พิลึก) จึงเป็นความเข้ากันไมไ่ด้ที่กระอักกระอ่วน พิพักพิพ่วนใจ (ใขณะที่ตอนที่ดีที่สุดก็เป็นตอนที่บางที่สุด อย่างตอน พี่น้อยแอบหลงเสียงนาง ตอนที่ควรจะดีที่สุดแต่ออกมาฟูมฟายคือตอนสมบัติ พิศมัยอัลไซเมอร์)

ความเข้ากันได้ไม่สนิททำนองนี้เป็นทั้งเรื่องไม่ดีและเรื่องดี เพราะมันแสดงให้เห็นว่าความพยายามนั้นมีปัญหาในตัวมันเองและเป็นการมองจากสายตาข้างบนมองข้างล่าง (ยิ่งกว่าคนนอกมองคนใน )

4. คีย์ซีนของหนังเลยเป็นเรื่องของเบนชาลทิศกับครูสลา มันคือฉากเปิดเรื่องและปิดเรื่อง มันคือประเด็นหลักของหนังที่ว่าด้วยเรื่องนักร้องเพลงพ๊อพถูก ‘ลดชั้น’ลงมาร้องลูกทุ่ง และพบกับโปรดิวเชอร์ใจดีที่พยายามอธิบายว่าเพลงลูกทุ่งดีอย่างไร จนในที่สุด นักร้องเพลงพีอพก็ค้นพบความงามของเพลงลูกทุ่ง ฉากที่รุนแรงสุดคือคือฉากไหว้ครูสุรพล นี่คือสิ่งที่ลูกทุ่ง (หรือเราอาจจะเรียกในสำนวนแบบโพโคว่า อีลิทลูกทุ่ง) อยากทำมาตลอด คือการทำให้ลูกทุ่งเป็น รากเหง่ากึ่งสำเร็จรูปของความเป็นไทย การกลับไปหาความเป้นลุกทุ่ง = ความเป็นไทย ไม่ใช่การค้นพบสิ่งที่เป้นสัจจะ แต่มันคือกลวิธีหนึ่งของการเอาท้องถิ่นนิยมสู้โลกาภิวัฒน์ (มาพร้อมๆกันกับภูมิปัญญาท้องถิ่น) การยกลุกทุ่งขึ้นมาเป้น ‘ความเป็นไทยในหัวใจคนไทย’ จึงกลายเป็นเรื่องเชิงพิธีการที่ต้องเชิดชูยกย่อง บูชา ทำให้เป็นของสูง (ทั้งที่มต้นกำเนิดจากเพลงพื้นบ้าน เคยเป้นมือเท้าของจอมพลป.ในการประกาศความเป็นชาตินิยม ต่อต้านคอมมิวนิสต์ และอัพเกรดทางดนตรีในยุคจีไอ) การพยายามทำให้เป็นของสูง คือการทำให้เป็นกรุงเทพในแง่ของการยกระดับไปสู่สิ่งที่กรุงเทพจะรับได้ ฉากการไหว้ครูสุรพล จึงเป็นฉากสำคัญที่อิหลักอิเหลื่อมากๆ (องค์ปรกอบในฉากนั้นยังมี พ่อแก่ อีกต่างหาก)

ฉะนั้นถ้าจะพูดถึงที่สุดแบบตีขลุม เราจึงอาจใช้ความเป็น subaltern กับลูกทุ่งในแง่ที่ว่า มันไม่ได้มีปากเสียงในฐานะปวศ.จากระดับล่างอย่างแท้จริง เดิมมันถูกพูดผ่านคนกรุงเทพ(เจ้าอาณานิคม)ว่า ลูกทุ่งคือความเป็นบ้านนอก ของคนบ้านนอก เป็นอื่น (บ่อยครั้งเป็นเครื่องหมายในทางเหยียด) ก่อนที่พวก อีลิทลูกทุ่งจะพยายามเขียนประวัติศาสตร์ใ้ห้ ลุกทุ่ง = ความเป็นไทย ซึ่งนั่นคือการเบียดขับความเป้นลุกทุ่งที่ไม่ได้เป็นอะไรของทั้งสองอย่าง (อาจจะเป็นความอยากเป็นกรุงเทพแต่ยังเป็นบ้านนอกด้วย) เป็นอื่นอย่างสิ้นเชิง พูดไม่ได้อย่างสิ้นเชิง เป็น subaltern ระดับพอกล้อมแกล้ม ถ้าจะว่าไป

และคนที่แสดงความเป็น sublatern ได้มันส์ที่สุด คือคนอย่างอาภาพร นครสวรรค์ ที่ปรากฏออกมาเพียงสองสามฉาก โดยไม่สนใจตำแหน่งแห่งที่อะไรทั้งสิ้น เธอออกมาในรูปแบบ ‘แม่ก็คือแม่’ ของจริง ทำให้ฉากอิหลักอิเหลื่อในการดวล ชาย เมืองสิงห์ กับเบน ชลาทิศ ออกมาสนุกมากๆ (ทั้งที่ฉากก่อนหน้าคือการเลือกแดนเซอร์จากผู้ชมใจลูกทุ่ง แต่ตัดไป ก็เป็นแดนเซอร์จริงๆทันที เพราะผู้ชมใจลูกทุ่งนั้นอาจไม่มีจริง) การพูดผ่านการเป้นนักร้องลูกทุ่งตัวจริง ที่ซื้อส้มตำมาปูเสื่อกิน แล้วเต้นลืมตายจึงเปนการพูดแบบ subaltern ของจริงของเรื่อง เป็นลูกทุ่งแท้ (ที่อีลิทอาจจะรู้สึกลูกทุ่งไม่พอ และ คนกรุงอาจจะบอกว่าบ้านนอก)

5. จากนี้ไปเป็นโซนเพอร์ซันแนล

จริงๆซีนเปิดเรื่องที่เป็นพี่จุ้ยล่องเรือร้องเพลง ลอ่งเรือหารัก เป็นซีนที่แอทแทคเราในระดับบุคคลมากๆ เพราะในขณะที่ ศุ บุญเลี้ยง และ เรื่องราวเล็กๆดีๆ เป็นแรงบันดาลใจในครึงแรกของชีวิตตัวเอง เพลงลูกทุ่ง(ที่เพลงเริ่มฟังพร้อมๆกับรปห.ปี 49) ก็เป็นแรงบันดาลใจในชีวิตครึ่งหลัง ฉากทนี้จึงเป็น ฉากที่เรายอมพ่ายแพ้ในทันที ขณะเดียวกันก็ตระหนักได้ทันทีถึงการแตกหักของตัวเองที่มีต่อโลกสองแบบที่หนังพยายามจะเขย่าเข้าหากัน เพื่อที่จะพบว่ามันจะเข้ากันไม่ได้จริงๆ เว่นแต่ต้องใช้ส่วนอารมณ์ผิวเปลือในการ hype ตัวเองเท่านั้น เราจึไงม่สามารถรักหนังเรื่องนี้ พอๆกับที่เกลียดมันไม่ได้เหมือนกัน ให้ไปดูอีกเพื่อฟังไข่มุกหรือน้องนนร้องเพลงก็คิดว่าไปดูได้ เพลงมันดี แต่หนังมันมีปัญหาอย่างที่อธิบายไป

อย่างไรก็ตาม ฉากที่งดงามมากๆๆๆๆ สำหรับเราคือฉาก พิศมัยบอกว่าตัวเองเป็นแฟนพิศมัย ก่อนที่ไม่นานหลังจากนั้น พิศมัยจะร้องเพลงไหนว่าไม่ลืม ด้วยเสียงตัวเอง(หรือเปล่า?) และสมบัติร้องเพลง ลืมไม่ลง โดยส่วนตัวคิดว่าเป้นโมเมนท์ที่ชอบที่สุดใอันหนึ่งของหนังไทยในปีนี้

6. ปิดท้ายด้วยหนังไทยร่วมสมัยลูกทุ่งที่ชอบที่สุด
1. อีส้มสมหวังภาค 2
2. อีส้มสมหวัง ภาค 1
3. ฟอร์มาลีนแมน รักเธอเท่าฟ้า
4. มนต์รักทรานซิสเตอร์
5. แหยม ยโสธร ภาค 1

อวสานโลกสวย (2016, ปัญญ์ หอมชื่น + อรอุษา ดอนไสว,ไทย)

เปิดเผยเนื้อหาส่วนสำคัญของภาพยนตร์

1. ถ้าไม่เคยดูหนังสั้นคงจะชอบหนังมากกว่านี้ เพราะหนังมันไม่ต้องพยายามจะหาเหตุผลอะไรมาอธิบายอีกต่อไปนอกจากความเกลียดชังในเพื่อนมนุษย์แบบเพียวๆ อย่างไรก็ดี มาย้อนคิดดูก็พบว่าหนังยาวแตกต่างจากหนังสั้นในระดับที่เป็นหนังที่แค่ร่วมพลอตเท่านั้น แต่ประเด็นหลักของมันอาจจะไม่เหมือนกันโดยสิ้นเชิง ถ้าจำไม่ผิด หนังสั้นมีตัวละครสามตัว แต่ในหนังยาวมีตัวละครแค่ตัวเดียว ในหนังสั้นมันคือ หญิงลึกลับโรคจิตที่เดินเข้ามาแล้วทำให้ความดำมืดในจิตใจของเพื่อนมัธยมสองคนได้รับการเปิดเผยออกมาอย่างรุนแรง มันจึงคือหนังของการทำให้คนโลกสวยกลายเป็นคนสามานย์อันเป็นตัวตนที่แท้ ในขณะที่ฉบับหนังยาว ตัวละครมีเพียงตัวเดียวที่หนังเฝ้าอธิบายที่มาที่ไปของการกลายเป็นคนเกลียดคนทั้งโลกอย่างไม่ต้องหาแรงจูงใจเฉพาะอีกต่อไป ทำให้หนังทั้งสองเรื่อง เหมือนกัน แต่แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง และเราโอเคกับหนังทั้งสองแบบ เพียงแต่ด้วยความสั้นของหนังสั้นมันคมและกระแทกเรามากกว่า

2. ชอบการแสดงของสายป่าน ที่เธอทำให้ตัวละครของเธอเป็นเด็กชั้ลตั่ม จริงๆ หมายถึงเป็นเด็กคอสเพลย์ เด็กเรียนภาณิชย์ อยู่บ้านโทรมๆ (ชอบซีนการสำเร็จโทษ เชอรี่ สามโคกมากๆ ชอบบรรยากาศในซีนนั้น มันทำให้นึกถึงควาฒโสโครกของหนังแบบ ลองของ) วิธีที่เธอพูด เธอหัวเราะ การใช้หางเสียงของฌะอ การแสดงผ่านวิธีการพูดของเธอ ทำให้เธอดูเป็นคนแบบนั้นในสังคมแบบนั้นจริงๆ ขณะที่เราเริ่มด้วยการค่อนข้างรำคาญการแสดงของเบสท์ตั้งวง แต่ไปๆมาๆชอบตัวละครตัวนี้มากๆ โดยเฉพาะการที่ทำให้เห็นว่ามันไม่ได้เป็นลูกไล่ของเกรซ แต่มันเป็นไอ้หื่นโอตาคุตัวจริง ฉากที่จัดอีแคร์จริงๆเป็นฉากที่รุนแรงมากๆ คือถึงที่สุดโอตาคุไม่ได้รักแบบเจ้าชายปกป้องเจ้าหญิง มันปกป้องจริงนั่นแหละ แต่มันก็ชักว่าวกับรูปเจ้าหญิงด้วยและถ้าให้มันก็เอา ชอบการที่จัดอีแคร์ และจัดอีเกรซ เพราะมันเป็นไอ้เหี้ยโรคจิตตัวจริง มันเลยเข้ากันได้กับการแสดงแบบหงอๆแต่เหี้ยของเบสท์ตั้งวง แปลกดีที่ตัวละครตัวนี้นูนนขึ้นมา ขณะที่ตัวหลักอย่างแคร์และเปิ้ลจมลงไป

3.ปัญหาหลักของหนังที่ทำให้สร้างความกระอักกระอ่วนให้กับคนดู (แต่กูชอบมาก) จึงเป็นปัญหาเดียวกับหนังที่เราชอบสุดๆอย่างThe Strangers นั่นคือการไม่มีแรงจูงใจหลงเหลือมากพอในการเล่นเกมแมวจับหนูของเกรซ สายป่านก็ไม่ยอมแสดงให้ตัวละครตัวนี้เป้นแค่อีบ้าโรคจิต (ซึ่งดีมากๆ) ในหนังสั้นการกวนน้ำให้ขุ่นของตัวละครตัวนี้มันมีเป้าประสงค์เพื่อชี้ให้ตัวละครออีกสองตัวเห็นว่ามึงไม่ได้เป็นอย่างที่มึงมโนว่ามึงเป็น พอมันเปลี่ยนให้แคร์และเปิ้ลเป็นเหยือเพียวๆ การจับมาทรมานของเกรซจึงเป็นการกระทำที่เลื่อนลอย เป็นเพียงแค่อีโรคจิตจับวัยรุ่นมาทรมาน (ซึ่งนักแสดงและตัวบทก็ทำหน้าที่เต็มที่ที่จะไม่ยอมเป็น) และการไม่สามารถสู้ได้ของตัวละครยิ่งทำให้ผู้ชมขัดใจมากขึ้นไปอีก เพราะตัวละครกลายเป้นตัวละครที่เป้นเหยือโดยสมบูรณ์ สมควรตาย จนไม่เหลือใครให้ผู้ชมเอาใจช่วย

4. ความก้ำกึ่งตรงนี้เอาจริงๆมันไม่สุดทางเพราะมันแทบไม่มีพื้นที่ให้เหยื่อบนจอหนัง แคลร์เลยเป็นวัตถุมากกว่าเหยื่อที่เราจะเอาใจช่วย เธอไม่ได้ทั้งน่าสงสารละน่าหมั่นไส้ หรือแม้แต่น่าเอา การแบ่งจังหวะไม่เท่ากันทำให้หนังมันเป๋ และสายป่านแบกหนังไว้คนเดียวทั้งเรื่อง นี่เป็นสาเหตุที่ผู้ชม(และเราด้วย)รู้สึกว่ามันไม่มพีคไปถึงจุดที่มันมีศักยภาพจะไปได้ ความเบาหวิวล่องลอยของ แคร์และเปิ้ลเป็นน้ำหนักที่ถ่วงให้หนังดูไร้ที่มาที่ไปมากขึ้น

5.อย่างไรก็ตามจุดที่ทำให้ตัดสินใจว่าชอบหนัง คือการให้เหยื่อกลายเป็นอาชญากร ฉากหลังจากออกจากบ้านแล้วมีการไล่ฆ่าย้อนศรนั้นเป็นฉากที่ไฮไลท์มากๆสำหรับเราจนไปจบที่สิ่งที่เปิ้ลกระทำ ชอบที่หนังโฟกัสไปที่เหยื่อจริงๆมากกว่าเกรซหรือเปิ้ล ในจุดนี้เธอกลายเป็นเกรซแล้ว เพราะความเลียดชังเพื่อนมนุษย์เฉพาะคนของเธอได้กลายเป็นอาชญากรรมกับคนอื่นๆที่ไม่รู้อิโหน่อิเหน่ไปเรียบร้อยแล้ว

5. สำหรับเราพอกลายเป็นหนังยาว ประเด็น cyber bully หรือ social media ที่หนังพยายามจะโปรโมตนั้นไม่มีน้ำหนักเลย ไม่ว่าจะเป็นการโดนถ่ายคลิปของเกรซ หรือการที่เกรซใช้facebook โปรโมตการฆ่าของตัวเอง หนังให้น้ำหนักมันน้อยไปจนมันไม่มีพลังถ้าจะสร้างไดเลมม่าทางสังคมอะไรมากกว่าเป็นเครื่องมือเล็กๆที่ไม่สำคัญ วึ่งนั่นไม่ได้แปลว่าไม่ดี เพราะเราชอบสิ่งที่หนังโฟกัสมากกว่านั่นคือการที่คนเราสามารถเป็นคที่เกลียดเพื่อนมนุษย์อย่างบริสุทธิ์โดยไม่มีเหตุผลอีกต่อไป (เกรซ) หรือการทีเราจะกกลายเป็นคนหงอๆที่ไม่มีศีลธรรมอะไรหลงเหลืออีกต่อไป (แจ๊ค) สองตัวละครนี้สำหรับเรา เป็นตัวละครที่เราสนใจ และชอบที่หนังให้ตัวละครสองตัวนี้ได้ทำทุกอย่างอย่างสุดทางโดยไม่เปิดช่องให้ศีลธรรมมีโอกาสเทศนา หรือแม้แต่ชี้นิ้วหาคนผิด ความกระอักกระอ่วน ความรำคาญของผู้ชม หรือของตัวเอง มันเลนเป้นของหวาน และเป็นรสที่ตัวเองชอบในหนังเรื่องนี้

6. ชอบเล็กๆที่หนังบันทึกการแต่งคอสเพลย์ (เหมือนที่ตั้งวงบันทึการเต้นคัฟเวอร์) แม้หนังจะไมไ่ดทั้งจะเชิดชุหรือสาปแช่ง พอคิดว่าเอาหนังเรื่องนี้ไปดูอีกสามสิบปีข้างหน้าแล้วงงว่าฉษกนี้คือเหี้ยอะไร ก็รู้สึกตื่นเต้นใน subculture พวกนี้แล้ว

7. ถึงที่สุด สิ่งที่ชอบจริงๆในหนังคือการค้นพบว่า นี่คือครั้งแรกหลังจาก ลองของ และเฉือน ที่เรามาไกลขนาดนี้ ไม่ใช่ในแง่ความรุนแรง แต่ในแง่เชิงจริยธรรมของหนัง สำหรับเรามันน่าตกใจและน่าพึงใจที่เราหันมาสำรวจความเกลียดเพื่อนมนุษย์ และการทำลายกันเองของเราโดยไม่ต้องเสนอหน้าสอนศีลธรรม หรือลงโทษใคร ความท้าทายของหนังคือการไม่พยายามจบสวย( แม้ตัวเองจะรู้สึกว่าซีนสุดท้ายมัน…ใช้คำอีเกรซนะ ….ตอแหลลล) แต่การที่หนังดิ่งดิ่งดิ่ง สู่ความมืดดำนั้นค่อยทำให้หนังมันคุ้มราคาการได้เรทฉ.20 หน่อย และนั่นคือเหตุผลที่ตัวเองชอบหนังมากทีเดียว

TOP LIST 2014

feature

 

TOP THIRTY FEATURE FILMS(ICK) 2014(2012-2014)

1.Norte, End of History (2013,Lav Diaz, Philippines)
ตัวหนังนั้นงดงามตามประสาลาฟอยู่แล้ว แต่สิ่งที่ดีที่สุดคือการได้ดูหนังเรื่องนี้ในโรงพร้อมกับผู้คนเต็มโรง

2.Inside llewyn Davis (2013 , Joel & Ethan Coen,US)
มันไม่ง่ายที่คุณจะต้องนั่งดูชีวิตตัวเอง เวอร์ชั่นที่หล่อกว่าและมีแมวด้วย

3. The Songs Of Rice (2014,Uruphong Raksasat, Thai)
หนังว่าด้วยการเฉลิมฉลอง เฉลิมฉลองของการผ่านพ้นความแค้นลำเค็ญ ตอนดูน้ำตาจะไหล

4.Anna And The Prince(2014, Ratchapoom Boonbunchachoke,Thai)
มันอาจไม่ใช่หนังที่ดีที่สุดของรัชฎภูมิ แต่มันเป็นหนังที่อธิบายสังคมไทยร่วมสมัยได้ดีที่สุด คมจนเราริษยาความฉลาด

5. The Last of the Unjust (2013, Claude Lanzmann ,FR)
สารคดีสัมภาษณ์หนึ่งในตัวร้ายของคนยิว หลักแหลม เก่งกล้า เจ็บปวด และมีอารมณ์ของความเป็นมนูาญืมากกว่าสร้างภาพแบบใดแบบหนึ่ง

6. Til Madness Do Us Apart (2014, Wang Bing, CHN)
ไม่รู้ในหนังส่าใครบ้ากว่าใคร แต่คนที่บ้าที่สุดคือ Wang Bing แน่ๆ

7. Under The Skin(2014, Jonathan Glazer, US)
การฉายภาพ จริยธรรมจากดาวอื่นที่งดงามและขวัญสะพรึง

8. The Drudgery Train (2012, Nobuhiro Yamashita,JP)
มันไม่ง่ายที่คุณจะต้องนั่งดูชีวิตตัวเอง เวอร์ชั่นญี่ปุ่น

9. Mommy (2014, Xavier Dolan, Canada)
เรารักหนังเรื่องนี้เพราะมันคือตัวละครแบบที่เราอยากเขียน และอยากเขียนให้แร่ดขนาดนี้

10. Manakamana (2013 , Stephanie Spray + Paco Velez , Nepal+US)
การนั่งดูคนขึ้นกระเช้าไปภูเขายาวสองชั่วโมงในหนังเรื่องนี้ มอบความรื่นรมย์ในระดับสูงยิ่งให้กับเรา

Continue reading “TOP LIST 2014”

ทาสรักอสูร (2014, เพชรทาย วงษ์คำเหลา ,ไทย)

m1

อยากเขียนบทความขนาดยาวถึงน้าหม่ำ โฟกัส แหยม1, 3 วงศ์คำเหลา และเรื่องนี้ เขียนชื่อว่า History of thai cinema. เคลียร์ชีวิตได้แล้วจะเขียนจริงๆ. ในแง่การยั่วล้อ การเป็ essay /dialogueมันไปสุด แต่มันไม่ถึงสวรรค์เพราะมันเล่าเรื่องไม่ได้เลย

1. เราจะไม่เสียเวลามาวิพากษ์ เรื่องความรุนแรง การข่มขืน ปิตาธิปไตย อะไรอีก เอาไว้ไปเขียนใน จำเลยรัก รีเมค สวรรค์เบี่ยงรีเมค น้ำผึ้งขมรีเมคดีกว่า เอาสั้นๆว่าก็เหมือนหนังไทยทั่วไป มันโอเคกับความรุนแรง การตบตี การข่มขืน และการทำให้ผู้หญิงเป็นทาส แต่ไม่ใช่ประเด็นที่เราจะพูดถึงในเรื่องนี้

2. เราสนใจมันในแง่ของการเป็นหนังล้อเลียนขนบ ปัญหาของมันคือมันอยากเป็นหนังขนบจนตัวสั่น แต่ทำไม่สำเร็จ ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องทั้งดีและไม่ดี ที่ดีคือการที่มันทำไม่สำเร็จ เพราะการล้อเลียนของมันได้สร้างกำแพงความกระอักกระอ่วนให้กับผู้ชมผ่านทางการสลับตำแหน่งแห่งที่จำเพาะของภาพจำพระนาง สลายบุคลิกพิมพ์นิยม ท่ังกริยาและรูปลักษณ์ ความกระอักกระอ่วนทำลาย อาการขยิบตาที่หนังไทยมักละเล่นกับผู้ชมมาแต่ไหนแต่ไรว่า ‘สมมติความตามท้องเรื่อง หนังขยิบตากับผู้ชมว่าจงเชื่อว่านางเอกที่สวยเด้งนั้นเป็นคนใช้ ผู้ชายนั้นเป็นผู้หญิงปลอมตัวมาแต่ไม่มีใครจับได้ การสลับตำแหน่งแห่งที่พวกนี้ทำให้อาการขยิบตาของหนังไม่สำเร็จมันจึงไม่เวิร์คต่อการเล่าเรื่อง ซ้ำยังเปิดเผยช่องโหว่ของตัวบทเดิมให้เห็นแผลชัดเจนขึ้น แต่ผลด้านลบคื มันเป้นหนังล้อขนบที่จะประสปความสำเร็จเมื่อมันพาผู้ชมไปถึงฝั่งฝันตามขนบด้วย การเตะตัดขาตัวเองทำให้ถึงอย่างไรหนังก็ไม่มีวันไปสุดทางได้แน่ๆ เราไม่มีวันเอาใจช่วย หรือยอมรับพระนาง เราถอยห่างออกจากตัวเรื่องเพื่อจะได้หัวเราะ แต่เราก็ไม่ถูฏเรื่องพาฝันไปด้วย

Continue reading “ทาสรักอสูร (2014, เพชรทาย วงษ์คำเหลา ,ไทย)”

ปอบหน้าปลวก(2014 , บาแรมยูทีม/ภูพิงค์ พังสะอาด?,ไทย)

IMG_5832_resize

 

หนังยาวประมาณ90 มีช่วงเวลาที่เราชอบหนังสุดๆประมาณสิบห้านาที ที่เหลือเกลียดหนังมาก แต่ในที่สุด สามสิบวินาทีสุดท้ายที่น่ากังขาของหนังทำให้เราชอบหนังเรื่องนี้มากๆทั้งที่ยังกังขาอยู่ว่ามันคือความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจ

1. จุดที่ชอบหนังมากๆอยู่ในช่วงไคลแมกซ์ท้ายเรื่องที่ทุกอย่างพินาศจนถึงขีดสุด ในช่วงการเปิดตัวปอบและการสู้ปอบ หนังได้พาเรากลับไปคารวะหนังผีฮ่องกงยุคแปดสิบที่เคยโด่งดัง รอยต่อจากหนังผีโป๊เปลือยของชอว์มาถึงหนังผีตลก ที่เน้นการสู้ผีแบบตลกๆในหนังชุดผีกัดอย่ากัดตอบและหนังผีอีกพะเรอเกวียน (และแน่นอนที่สุดหนังผีกลุ่มนี้ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของหนังผีในบ้านเราหรือพูดให้ถูกต้องเกิดมาพร้อมกันกับหนังชุด บ้านผีปอบ ที่ทำให้หนังผีการหนีผี อัพเลเวลจากยุคผีไทยๆแบบแม่นาค) การที่หนังกลับไปบูชาและยั่วล้อ ทั้งการเลือกเล่นกับข้อจำกัดของผี หรือการเล่นกัยการผเชิญหน้าผีแบบตรงๆ ที่ทั้งน่ากลัวและตลก เป็นฉากที่เรียกความรู้สึกของหนังยุคนั้น (แน่นอนว่าไม่ใช่หนังอาร์ตอะไร เป็นเพียงวันชื่นคืนสุขวัยเด็กของคนดูหนังจีน) กลับมาได้อย่างสวยสดงดงาม ฉากบรูซลี ฉากห้องไปจนถึงฉากเชือกถือเป็นช่วงมาสเตอร์พีซที่มาเต็มมากๆ

2.อย่างไรก็ดีจุดที่น่ากังขาจุดแรกของหนังคือโปรดักชั่นมันง่อยมาก จนแทบไม่มีความสมจริงอะไร แต่ความไม่สมจริงจนเกินเลยนี่เอง (ไม่สมจริงแบบโรงงานอะไรที่ไหนอย่างไรไหนคนงาน ทำไมตัดไปตัดมามีแต่เด็กฝึกงาน) ทำให้มันก้าวข้ามไปสู่เทสต์แบบ ‘พจน์ อานนท์สไตล์’คือง่อยจนเวียร์ด พอถึงจุดหนึ่งเราก็รู้สึกว่ายิ่งมันดูลวกๆเท่าไหรร่มันก็ยิ่งตัดขาดตัวเองออกมาสร้างจักรวาลเฉพาะมากขึ้นเท่านั้น คนดูต้องทำใจมากขึ้นที่จะช่วยประคับประคองให้ยอมหนังได้ จนในท่สุดก็นำไปสู่สภาวะช่างแม่ง ความง่อย ความตัดไม่ได้เรื่องความไม่สมจริงอะไรทั้งสิ้น อันที่จริงก็เป็นเทสต์แบบคัลท์ๆของหนังเกรดต่ำอันหนึ่งเหมือนกัน

Continue reading “ปอบหน้าปลวก(2014 , บาแรมยูทีม/ภูพิงค์ พังสะอาด?,ไทย)”