Daughters , Wives and A Mother (1960, Mikio Naruse, JP)

daughterswivesandamother_1130_430_90_s_c1

นี่คือหนังที่เป็นคู่สัมพัทธ์ คู่วินาศกับ Tokyo Story ของโอสุของจริง หนังว่าด้วยเรื่องครอบครัวที่ประกอบด้วยแม่และลูกสาวลูกชายห้าคน แม่อยู่กับลูกชายคนโตลูกสะใภ้และหลานในบ้านเก่าของพ่อ สมบัติอย่างเดียวที่พ่อทิ้งไว้ให้ ลูกสาวคนรองแต่งไปกับตระกูลเก่าแก่ สามีตาย ถูกส่งกลับบ้านต้องไปอยุ่ห้องคนใช้ ลูกสาวคนที่สาม อยู่กับสามีที่บ้านแม่ผัว โดนแม่ผัวจิกด่าทุกวัน จนทนไม่ไหวอยากชวนสามีย้ายไปอยู่อพาร์ทเมนท์ แบบน้องชายคนที่สี่ทีเป็นช่างภพาอยู่อพาร์ทเมนท์กับเมียสาว แต่ยังเจ้าชู้ไก่แจ้ น้องคนสุดท้อง เป็็นสาวออฟฟิศที่ยังอยู่บ้านแม่ แต่ก็อยากออกไปจากที่นั่นเต็มทน

พี่สาวคนรองนั้นได้เงินประกันสามีมาล้านเยน เธอเป็นคนกหัวอ่อนใจดีไม่กล้าปฏิเสธคน พี่ชายมาขอยืมไปลงทุนก็ให้ น้องสาวมาขอยืมไปซื้ออพาร์ทเมนท์ก็ให้ กลายเป็นว่าพี่ชายโดนโกง บ้านจะโดนยึด เขาต้องขายบ้านและตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรกับแม่ที่ไม่มีใครเอา เธออาจจะเสียสละตัวเองเพื่อแม่ แต่ลูกสะใภ้ก็รู้สึกผิดบาปที่ตัวเองมีส่วนในการทำให้เรื่องทั้งหมดมันเจ็บปวดขนาดนี้ด้วย นี่คือความสัมพันธ์

พลอตเจ็บปวดรุนแรงระดับเดียวกับ tokyo Story แต่มันมีคลาสน้อยกว่า เพราะอย่างที่รู้ว่านารุเสะไม่มีไสตล์แบบโอสุ เพราะหนังของเขาไม่ใช่หนังชนชั้นกลางรุ่นเก่าเก็ยอารมณ์ แต่มันคือหนังของญี่ปุ่นโมเดิร์นท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงหลังสงคราม นารุเสะถ่ายออกมาทื่อๆตรงๆแบบหนังเมโลดรามาเรียกน้ำตา ตัวละครของเขาเป็นคนธรรมดาที่ไม่ได้เป้นผู้ดิบผู้ดี ผู้หญิงของนารุเสะดิ้นรนเสมอท่ามกลางโลกสมัยใหม่พวกเธอพยายามต่อสู้ทุกทางเพื่อหาตำแหน่งแห่งที่ของตัวเอง

แต่กระนั้นหนังของนารุเสะไม่ใช่หนังขายอารมณ์สุดขั้วสุดขีด บทของเขาเขียนอย่างปราณีต และตัวละครทุกตัวมีเหตุมีผลและมีผัวใจเป็นของตนเอง หนังจึงมีฉากที่เจ็บปวดในระดับเดียวกับการแบ่งสมบัติแม่ใน Tokyo Story คือฉากการคุยกันว่าจะแบ่งเงินขายบ้านยังไง ทุกคนต้องได้เงินนะ แล้วแม่ใครจะเอา

ถึงจะเป็นครอบครัวแต่เราก็ต้องตายคนเดียวอยู่ดี
เรื่องเครือญาติกับเรื่องคนดีน่ะมันคนละเรื่องกัน

หนึ่มสาวร่วมสมัยในหนังไม่ได้ยึดโยงกับครอบครัวในแบบเดิม หนังพูโเป็นนัยๆว่าครอบครัวแบบเก่าก็เคร่งครัดบีบคั้นผู้คน แต่ครอบครัวสมัยใหม่ภายใต้โลกทุนนิยมที่สถานะง่อนแง่น ก็ไม่ได้ดีไปกว่ากันเท่าไร การสูญเสียตัวเองในโลกเก่าที่ผู้คนเคร่งครัดจารีต กับการเสียตัวตนในโลกใหม่ที่ผู้คนมีแต่เรื่องเงินๆทองๆนั้นไม่ได้แตกต่างกัน เราไม่มีทางที่จะยืนอยู่ได้ง่าย โดยเฉพาะในยุคสมัยเปลี่ยนผ่าน ยุคที่เราอยากเป็นอย่างหนึ่งแต่ไม่อาจละทิ้งไปจากอีกอย่างได้

หนังจบในจุดที่งดงามที่สุด ในบทสนทกนาสั้นๆของพี่สะใภ้กับน้องสามี (ฮิเดโกะ ทาคามิเนะ และเซตสึโกะ ฮาระ งดงาม เจิดจ้า นุ่มนวล อ่อนโยน และหมดจดมากๆ) ขณะที่แม่ออกไปเดินเล่นพบกับการถูกเบียดขับ และความตายของโลกเก่าที่กำลังชรา และเด็กเกิดใไม่ที่ยังไม่สามารถประครอบประคองตัวเองได้ หนังจบลงตรงจุดที่คลุมเครือและสวยงามที่สุดโดยยังคงเป็นหนังสำหรับแม่บ้านที่ทรงพลังมากๆ และนี่คือความงดงามของนารุเสะ

Leave a comment